จำนอง vs ขายฝาก

จำนอง

10 หัวข้อ เนื้อหาเรื่อง “ข้อแตกต่าง ข้อดีข้อเสีย ระหว่าง จำนอง กับ ขายฝาก”

ประเภทของสัญญา จำนอง – ขายฝาก

จุดมุ่งหมายในการทำสัญญา ทั้งสัญญา จำนองและขายฝาก เป็นสัญญาที่นิยมใช้ในการกู้เงิน ระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยมี อสังหาริมทรัพย์ เป็นหลักประกัน

จำนอง” คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

ขายฝาก” คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด

ข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝากที่ควรทราบ

สัญญาจำนอง : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง แต่สัญญาขายฝาก : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก จึงต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อฝาก

กรณีทำผิดสัญญา

หากครบสัญญาแล้ว สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่โดนฟ้องบังคับจำนอง ที่ดินนั้นๆ จะไม่สามารถนำมาขายเองได้แล้ว

สัญญาขายฝาก : ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาในสัญญา หากไม่มีเงินมาไถ่ภายในกำหนดเวลา  กฎหมายกำหนดว่าสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 10 ปี หากไม่มีเงินมาไถ่ถอนขายฝาก หรือไม่มาขยายกำหนดเวลาไถ่จากขายฝาก ปล่อยให้ทรัพย์หลุดขายฝาก ทรัพย์นั้นก็จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

กรณีทำผิดสัญญา
ลูกหนี้ต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลา  ตามกฎหมายสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี

สถานที่ทำสัญญา
ทั้งสัญญา จำนองและขายฝาก ต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

ข้อดีของการ จำนอง

  • เป็นธุรกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะต้องทำการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน
  • ค่าใช้จ่ายณสำนักงานที่ดินค่าธรรมเนียมเพียง 1% ของวงเงินจำนองเท่านั้น
  • การจำนองเป็นธุรกรรมที่ผู้จำนองค่อนข้างได้เปรียบเพราะผู้รับจำนองไม่สามารถยึดทรัพย์ได้

ผู้จำนอง

  • กรรมสิทธิ์นยังเป็นของผู้จำนอง
  • ใช้ประโยชน์จากทรัพย์นั้นได้อยู่
  • สามารถไถ่ทรัพย์ได้ตามตกลง

ผู้รับจำนอง

  • ไม่ได้กรรมสิทธิ์หลังทำสัญญาจำนอง
  • ถ้าผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองต้องไ
  • เรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี

ข้อเสียของการจำนอง

ทรัพย์สินที่จำนองจะยังอยู่กับเราจนกว่าจะโดนฟ้องร้องให้ยึดทรัพย์ แถมยังเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินเรื่องที่ถูกกว่าขายฝาก ข้อเสีย คือ มีทั้งต่อตัวผู้กู้ ที่จะได้วงเงินน้อยกว่า และถ้าถูกยึดทรัพย์เท่ากับเราขาดทุนโดยอัตโนมัติ ส่วนตัวผู้ให้กู้บอกเลยว่าค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ แล้วก็จะต้องเสียเวลาในการฟ้องศาลอีก และกว่าจะได้ยึดทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตัวเองก็ใช้เวลานาน

ข้อดีของการ ขายฝาก

ข้อดีของการขายฝาก ฝั่งผู้ขายฝาก (ผู้กู้)

  • การขายฝากมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเพราะมีการทำสัญญา ณ กรมที่ดินระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก
  • การขายฝากส่วนมากนั้นผู้ให้กู้จะให้วงเงินสูงกว่าการกู้รูปแบบอื่น ซึ่งผู้ให้กู้บางรายอาจให้มากถึง 70% ของราคาประเมิน
  • ลูกหนี้จะไม่ถูกเอาเปรียบจากการคิดดอกเบี้ยโหดๆ จากหนี้นอกระบบแน่นอน หรือถ้าไปขายฝากที่อื่นก็อาจจะไม่ได้ดอกเบี้ยคงที่ 9% ต่อปี ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากได้เจอกันโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง
  • การขายฝากมีระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ยืดหยุ่น โดยผู้ทำการขายฝากสามารถยืดระยะเวลาในการไถ่ถอนได้ แต่ต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ สมมุติถ้าตกลงกับเจ้าหนี้ไว้ว่าจะมาไถ่ทรัพย์คืนภายใน 1 ปี หากถึงเวลาแล้วยังไม่พร้อมก็สามารถยืดเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อฝากและต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
  • ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าพ้นกำหนดไถ่ถอน
  • การทำสัญญาขายฝากที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิสต์ หรือเครติดบูโรของผู้กู้
  • ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน, ไม่ดูการเดินบัญชี statement ของธนาคาร

ข้อดีของการขายฝาก ฝั่งผู้รับซื้อฝาก (นักลงทุน)

  • ได้ผลตอบแทนสูง และกำไรส่วนต่างจากการขายทรัพย์ (กรณีทรัพย์หลุดไถ่ถอน)
  • ความเสี่ยงต่ำเพราะมีหลักประกัน ไม่ต้องฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์
  • ธุรกรรมทำง่าย และปลอดภัย เพราะต้องจดทะเบียนที่กรมที่ดิน
  • เป็นช่องทางการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาถูก
  • ถูกต้องตามกฎหมาย

เท่ากับว่าทั้ง ขายฝากและการจำนอง มีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไป จึงต้องศึกษาให้ดีว่าเราเหมาะกับแบบไหนมากกว่า รวมถึงดูด้วยว่านายทุนที่เราไปกู้เป็นยังไง และจะจ่ายในแต่ละเดือนไหวไหมจะมีเงินไถ่ถอนรึเปล่า มองให้รอบด้านหรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้ เพื่อให้เราเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดอย่างถูกต้อง

ข้อเสียของการขายฝาก

  • เมื่่อทียบกับ สัญญาจำนอง แล้ว สัญญาขายฝาก มีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า โดยได้แก่ ค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 (จากราคาประเมิณ) , ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์
  • ความปลอดภัยของทรัพย์ที่จะมาทำ ขึ้นอยู่กับนายทุน ถ้าโชคร้ายดันไปเจอนายทุนไม่ดี ต่อรองไม่ได้ ถ้าไถ่ถอนไม่ทันเวลาก็จบเห่ครับ โดนยึดแน่นอน
  • อาจจะต้องเสียดอกเบี้ยรวมแล้ว เกิน 15% ต่อปี เพราะในทางปฏิบัติจริงแล้ว อาจจะมีค่าธรรมเนียม อื่นๆ เพิ่มเติมที่เรียกว่า ค่าปากถุง (ค่าธรรมเนียมการกู้เงิน) ที่นายทุนมักจะเรียกเก็บ เช่นเดียวกับเวลาไปกู้แบงค์ก็อาจจะมีค่าธรรมเนียมตัวนี้แอบแฝงมา ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกัน ก่อนทำสัญญาครับผม
ขายฝาก

การคืนสินทรัพย์

การคืนสินทรัพย์เป็นกระบวนการที่ผู้คืนสินทรัพย์จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กำหนด ไว้โดยผู้ถือสินทรัพย์หรือองค์กรที่ให้สินทรัพย์นั้นให้กู้ยืมหรือใช้เช่า วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้ในกระบวนการคืนสินทรัพย์อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินทรัพย์และข้อตกลง ดังนี้

1. การคืนสินทรัพย์เงินสด หรือ เงินฝากธนาคาร

   – วิธีการ : การคืนเงินสดหรือเงินฝากธนาคาร ส่วนใหญ่จะทำผ่านการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือการจ่ายเงินสดตรงๆ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างฝ่าย

   – เงื่อนไข : เงื่อนไขการคืนเงินสดหรือเงินฝากธนาคารมักมีระยะเวลาที่กำหนดในข้อตกลง และอาจรวมถึงการชำระค่าดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

2. การคืนสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์

   – วิธีการ : การคืนสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์มักใช้วิธีการโอนหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ในบางกรณีอาจมีการจ่ายเงินค่าความเสียหายหรือค่าชดเชยเพิ่มเติม

   – เงื่อนไข : เงื่อนไขการคืนสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์มักรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนสิทธิ์ ระยะเวลาที่กำหนดในข้อตกลง และการชำระเงินตามกำหนด

3. การคืนสินทรัพย์ของบริษัท

   – วิธีการ : การคืนสินทรัพย์ของบริษัทมักใช้การโอนหุ้นหรือการชำระเงินตามค่าตามทางบัญชี

   – เงื่อนไข : เงื่อนไขการคืนสินทรัพย์ของบริษัทจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างบริษัทและผู้ถือสินทรัพย์ รวมถึงการคำนวณค่าตามทางบัญชีและระยะเวลาที่กำหนดในข้อตกลง

4. การคืนสินทรัพย์อื่นๆ

   – วิธีการ : วิธีการและกระบวนการในการคืนสินทรัพย์อื่นๆ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินทรัพย์นั้น เช่น การคืนรถยนต์จะมีการโอนสิทธิ์และการรับคืนรถยนต์เอง

   – เงื่อนไข : เงื่อนไขการคืนสินทรัพย์อื่นๆ จะมีความหลากหลายและจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างฝ่าย

การคืนสินทรัพย์ มักมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้กระบวนการคืนเป็นไปได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยควรตรวจสอบข้อตกลงระหว่างฝ่ายและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในนั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายและการขาดเสียหายทางการเงิน

เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย จำนองและขายฝากที่ดิน

หากคิดจะทำ จำนอง หรือ ขายฝากที่ดิน หลายคนไม่รู้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย จริงหรือเปล่า? เมื่อตัดสินใจทำขายฝากโดยไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ ทำให้ไปเจอกับนายทุนนอกระบบคิดค่าใช้จ่ายเกินจริง เสียรู้ เสียเงินและเสียทรัพย์ได้ ดังนั้นจะเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าค่าใช้จ่ายของการจำนอง หรือขายฝากที่ดิน เท่าไรบ้าง?

ค่าใช้จ่ายจำนองที่ดิน

การจำนองที่ดินมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายหลายส่วนด้วยกัน จำแนกออกเป็น ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจำนอง 100 บาท (ค่าคำขอ)
  • ค่าจดจำนอง ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้เรียกเก็บ ณ สำนักงานที่ดิน คิดเป็น 1% ของเงินที่จดจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากให้จำนองเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงินที่รัฐฯกำหนด จะเสียค่าธรรมเนียม 0.5% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ กรณีการจำนองเพื่อเป็น ประกันการกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตราสารกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาทแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลักษณะตราสาร 5
  • ค่าดำเนินการ หรือค่านายหน้า ประมาณ 3%-5% เรียกอีกอย่างคือเป็นค่าปากถุง ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้ขึ้นอยู่กับตกลงกัน
  • ค่าหักดอกเบี้ยล่วงหน้า จะเรียกเก็บมากหรือเรียกเก็บน้อยขึ้นอยู่กับนายทุน ส่วนใหญ่เรียกเก็บประมาณ 1-3 เดือน

ค่าใช้จ่ายขายฝากที่ดิน

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

1. กรณีบุคคลธรรมดา

  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินของทางราชการ
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (คิดอย่างใดอย่างหนึ่ง) คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ โดยทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
  • ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน
  • ค่าดำเนินการ หรือค่านายหน้า ประมาณ 3%-5% เรียกอีกอย่างคือเป็นค่าปากถุง ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้ขึ้นอยู่กับตกลงกัน
  • ค่าหักดอกเบี้ยล่วงหน้า จะเรียกเก็บมากหรือเรียกเก็บน้อยขึ้นอยู่กับนายทุน ส่วนใหญ่เรียกเก็บประมาณ 1-3 เดือน

2. กรณีนิติบุคคล

  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมินราชการ (อย่างใดอย่างหนึ่งที่มูลค่าสูงกว่า)
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินของทางราชการ
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (คิดอย่างใดอย่างหนึ่ง) คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคา ซื้อ-ขายฝากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ
  • ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน
  • ค่าดำเนินการ หรือค่านายหน้า ประมาณ 3%-5% เรียกอีกอย่างคือเป็นค่าปากถุง ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้ขึ้นอยู่กับตกลงกัน
  • ค่าหักดอกเบี้ยล่วงหน้า จะเรียกเก็บมากหรือเรียกเก็บน้อยขึ้นอยู่กับนายทุน ส่วนใหญ่เรียกเก็บประมาณ 1-3 เดือน

ดังนั้น หากคิดจะทำธุรกรรมทางที่ดินไม่ว่าจะเป็น จำนอง หรือขายฝาก ให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายให้ดีว่าจะไม่ถูกชาร์จค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ไม่ว่าจะทำธุรกรรมที่ดินรูปแบบไหน ต้องเลือกบริษัทฯ ที่น่าเชื่อถือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขายฝากโดยตรง

เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญา

การยกเลิกสัญญาจำนองและการขายฝาก มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อตกลงระหว่างฝ่าย ของประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือคอนโดมิเนียม นี่คือเงื่อนไขที่สามารถปรากฏในการยกเลิกสัญญาจำนองและขายฝาก

1. การผิดสัญญา
– เงื่อนไข : สัญญาจำนองและขายฝาก มักมีเงื่อนไขที่กำหนดว่าหากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญา อีกฝ่ายอาจมีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาและรับคืนสินทรัพย์

2. การชำระหนี้
– เงื่อนไข : การยกเลิกสัญญาจำนองและขายฝาก อาจเกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ครบถ้วนและตรงตามกำหนดหรือไม่ หากฝ่ายเจ้าของสินทรัพย์ไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง อีกฝ่ายอาจมีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาและขายทรัพย์สิน

3. การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
– เงื่อนไข : สัญญาจำนองและขายฝาก อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และอาจมีระยะเวลาที่กำหนดในการแก้ไขความผิดพลาด หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด อีกฝ่ายอาจมีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา

4. การยกเลิกตามกฎหมาย
– เงื่อนไข : บางสถานการณ์อาจต้องใช้การยกเลิกสัญญาโดยการกระทำตามกฎหมาย ยกเว้นถ้าสัญญาได้ระบุข้อตกลงการยกเลิกทางกฎหมายล่วงหน้า

5. การชดเชย
– เงื่อนไข : ในบางกรณี เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาอาจรวมถึงการชำระค่าชดเชย หรือค่าความเสียหายในกรณีการยกเลิก

สำหรับข้อมูลแนะนำและคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาจำนองและการขายฝาก ควรปรึกษากับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเพื่อความชัดเจนและป้องกันความขัดแย้งในอนาคต

ยกเลิกสัญญา

การประกันสินทรัพย์

การประกันสินทรัพย์ในการจำนองและการขายฝาก เป็นสองกระบวนการทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์และลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การประกันสินทรัพย์ในการจำนอง
การจำนองเป็นกระบวนการที่ผู้ค้าขายสินทรัพย์ (ตามส่วนใหญ่เป็นบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์) จะมอบสิทธิในการถือครองสินทรัพย์ให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน เป็นค่าหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยมีการจดจำนองที่สำนักงานที่ดินเพื่อระบุสิทธิในการถือครองและการชำระหนี้ตามข้อตกลงทางการเงินนั้น ๆ

หากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ตามข้อตกลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีสิทธิในการรับคืนสินทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้

2. การประกันสินทรัพย์ในการขายฝาก
การขายฝาก คือ กระบวนการที่บุคคล นำสินทรัพย์ส่วนตัวมาให้ผู้รับฝาก เพื่อรับเงินค่าจำนำหรือเงินกู้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้รับฝากจะให้เงินกู้โดยใช้สินทรัพย์นั้นๆเป็นหลักประกัน และลูกค้ามีสิทธิ์รับคืนสินทรัพย์โดยชำระค่าจำนำและดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา

ถ้าลูกค้าไม่สามารถชำระค่าจำนำและดอกเบี้ยตามข้อตกลง ผู้รับฝากมีสิทธิ์ในการขายสินทรัพย์ที่ถูกจำนำเพื่อชำระหนี้

สรุป คือ การประกันสินทรัพย์ในการจำนองเกี่ยวกับการกู้เงิน และการถือครองสินทรัพย์ในระยะยาว ในขณะที่การขายฝากเป็นกระบวนการรับเงินสดโดยใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกันในระยะเวลาสั้น และมักมีการขายสินทรัพย์ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่สามารถชำระหนี้ได้ในข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา

การตัดสินใจเพื่อจำนองหรือขายฝาก

การตัดสินใจในการเลือกระหว่างการจำนองและการขายฝากขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความต้องการของคุณโดยตรง ดังนั้น นี่คือข้อคิดและคำแนะนำในการตัดสินใจ

1. ตรวจสอบสถานการณ์การเงินของคุณ
– ตรวจสอบบัญชีเงินฝาก, หนี้สิน, รายได้, และค่าใช้จ่ายประจำเพื่อทำความเข้าใจในสถานการณ์การเงินของคุณให้ดีขึ้น

2. กำหนดวัตถุประสงค์ของคุณ
– คุณต้องการเงินเพิ่มเพื่ออะไร? เช่น การลงทุน, การซื้อบ้านใหม่, การศึกษาลูก, หรือการปลูกธุรกิจ

3. คิดหากคุณจำนอง
– การจำนองบ้านหมายความว่าคุณจะยึดบ้านเป็นหลักทรัพย์ เป็นการยืมเงินโดยใช้บ้านเป็นประกัน มีดอกเบี้ยและงวดชำระที่ต้องรับผิดชอบ
– พิจารณาสถานการณ์ดอกเบี้ยปัจจุบัน ความสามารถในการชำระค่างวด และความเสี่ยงทางการเงิน

4. คิดหากคุณขายฝาก
– การขายฝากเป็นการขายสิทธิ์ในบ้านของคุณแต่คุณยังคงเป็นเจ้าของมัน คุณจะได้รับเงินสดจากการขาย
– พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น ราคาตลาดปัจจุบัน, ความต้องการของตลาด, และโอกาสในการลงทุนใหม่

5. การเปรียบเทียบต้นทุนและประโยชน์
– คำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจำนอง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายฝาก เพื่อดูว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนแบบใดมากกว่า

6. ประเมินความเสี่ยง
– พิจารณาความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองตัวเลือก และวางแผนการจัดการความเสี่ยงในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง

7. อาจพิจารณาการรับคำปรึกษา
– ถ้าคุณไม่มั่นใจในการตัดสินใจ คำปรึกษาจากที่ปรึกษาการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจช่วยให้คุณทราบข้อมูลที่สำคัญเพิ่มเติม

8. สรุปคำตัดสินใจ
– เมื่อคุณได้พิจารณาทั้งสองตัวเลือกและวางแผนการจัดการความเสี่ยง กำหนดใจในการเลือกตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของคุณ

ในการตัดสินใจควรพิจารณาสถานการณ์ของคุณโดยละเอียด และคำนึงถึงเป้าหมายและความสำคัญของคุณ ตัวเลือกที่เหมาะสมอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงิน แผนการลงทุน และความเสี่ยงที่คุณพร้อมจะรับผิดชอบในระยะยาว คุณอาจต้องรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงิน และพิจารณาครอบคลุมของทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่คุณพบเพื่อตัดสินใจที่ดีที่สุดสำหรับคุณ


ปัญหาหนี้ สำหรับ เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ บริษัท SME หากท่าน เริ่มมีปัญหา มีภาระหนี้มาก ผ่อนชำระหนี้ไม่ไหว เริ่มค้างชำระงวด ธนาคารทวงหนี้ หรือ บางรายเป็นหนี้เสีย กลายเป็นหนี้เสีย NPL ให้เราหาทางออกให้ครับ

ปัญหาเรื่องหนี้ หากเริ่มแก้ไข ตั้งแต่ต้น แบบถูกหลัก ปัญหามันจะจบ และไม่บานปลาย

ให้เรา Antonio Attorney ดูแลคุณ คุณเพียง เอาเวลาไปทำงาน หรือ ทำธุรกิจ ของคุณ ต่อไป อย่าเสียเวลา เสียสมาธิ หรือปวดหัว วุ่นวาย จากการเตรียมเอกสาร อย่ามัวแต่กังวล กับปัญหาต่างๆ ให้เราดำเนินการแทนคุณครับ (บริการในรูปแบบบริษัท เรามีทีมงานด้านการเงิน และกฎหมาย เพื่อเป็นทีมดำเนินการแทนคุณ)

ให้เราแก้ปัญหาหนี้ แนะนำแนวทางการแก้หนี้ แนะนำแนวทางการเจรจาหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เรามีบริการ ในหลากหลายรูปแบบครับ

หรือ ท่านที่ต้องการกู้เงิน ต้องการวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ เพื่อประกอบธุรกิจ เราก็มีบริการ จัดหาวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ กับ สถาบันการเงินให้กับคุณ

ผม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อันโตนิโอ แอททอร์นี จำกัด ผมมีประสบการณ์ ในการเป็น ผู้วิเคราะห์สินเชื่อ จากธนาคาร ชั้นนำหลายธนาคาร และผมยังเป็นที่ปรึกษาการเงิน Financial Advisor ( F. A.) ให้กับ ธุรกิจ กิจการ SME ตั้แต่รายกลาง ไปจนถึงรายใหญ่

ผมมีประสบการณ์ มายาวนาน ผมผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 วิกฤตเศรษฐกิจ แฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 จนมาถึง วิกฤตโควิด ในครั้งนี้ ผมมีประสบกาณ์ ในฐานะ ที่ปรึกษาการเงิน มาอย่างยาวนาน กว่า 20 ปี

อะไรบ้าง ที่คุณจะได้จากผม

1. เทคนิค และวิธีการเจรจาต่อรอง แก้ไขหนี้ และนำเสนอข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้การแก้หนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จลุล่วง

2. หากกรณี ขอสินเชื่อ ผมจะดูและแนะนำ การเตรียมข้อมูล และเอกสาร เพื่อให้คุณยื่นกู้ ขอสินเชื่อ ให้ผ่าน โดยผมจะแนะนำเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ดูแลอนุมัติสินเชื่อ ให้กับคุณ ในการยื่นเรื่องที่ง่ายขึ้น

3. ในระหว่าง ที่ดำเนินการดังกล่าว ทั้งแก้หนี้ หรือ ขอสินเชื่อ ติดต่อ สอบถาม ผมพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับคุณ โดยต่อเนื่องครับ

อัตราค่าบริการ มี 2 แบบ

1. แบบปรึกษา ผ่านโทรศัพท์เท่านั้น ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) จำนวน 2,500 บาท

2. แบบพบเจอตัว (Private Session) 1 ครั้ง หลังจากนั้น ปรึกษาโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) ค่าบริการ 7,000 บาท

ชื่อบัญชี Yuttana Kosakul

KBank 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0

หลังจากโอนเงินแล้ว ส่งสลิปมาที่ LineID : @antonio หรือ email : antonioattorney@gmail.com แล้วแจ้ง ชื่อ และเบอร์ติดต่อ แล้ว ผมจะรีบติดต่อเพื่อนัดหมายครับ

อย่าปล่อยให้ปัญหาหนี้เสีย NPL ของคุณลุกลาม จนต้องถึงขั้น ดำเนินคดี ฟ้องร้อง ขึ้นศาล หรือ บางกรณี จนถึงขั้น บังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้มืออาชีพอย่างผม ได้เป็นที่ปรึกษา เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้ ของคุณ ปัญหาหนี้ของ ธุรกิจ บริษัท กิจการของคุณ ให้รอด และสามารถกลับมาตั้งต้น ทำธุรกิจ ให้เติบโต มันคง ได้ต่อไปนะครับ

———————————————————

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ

https://www.youtube.com/channel/UCcADQXY_tZ4vHBfWCK0lTSw/join

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน สินเชื่อธุรกิจ แก้หนี้ เป็นการส่วนตัว

คลิกเลยครับ https://bit.ly/3lcHLXe

หรือ ที่ปรึกษาการเงิน แบบผู้ประกอบการ SME คลิกเลยครับ https://bit.ly/38DOx3j

ติดต่อ ผมที่ LineID : @antonio / 065 626 4545

หรือ email : antonioattorney@gmail.com

และติดตามผมต่อได้ที่ https://www.facebook.com/AntonioAttorney.Company/

และที่ https://antonioattorney.com/

Leave a Reply