“ห้องชุด” ทำเป็นโรงแรม ได้หรือไม่ ?

ห้องชุด

เมื่อเร็วๆ นี้มี คำสั่งของกรมที่ดิน ระบุชัดเจนว่า ห้องชุด จะนำมาทำเป็นโรงแรมไม่ได้ เราลองมาศึกษาดูว่าที่เมืองนอกเขาทำได้หรือไม่ ทำแล้วจะดีหรือไม่ ห้องชุด : เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 อธิบดีกรมที่ดินได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่องการนำห้องชุดในอาคารชุดไปประกอบกิจการโรงแรม (ที่ มท 0517.3/ว23302) โดยระบุว่า “ในกรณีที่เจ้าของอาคารชุดมีความประสงค์จะนำ อาคารชุด ไปประกอบธุรกิจโรงแรมก็สามารถที่จะดำเนินการเพื่อเลิกอาคารชุดตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ก่อน แล้วจึงนำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการโรงแรมและดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยโรงแรมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไปได้” อย่างไรก็ตาม ท่านก็มีความเห็นว่า “พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ถูกตราขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว อาจไม่รอบรังกับสภาพสังคมหรือการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป แต่การนำหลักความยินยอมหรือการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของอาคารชุดเพื่อนำไปประกอบกิจการโรงแรมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนมาพิจารณาตีความ เรื่องอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2523 ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากกรอบของการตีความถูกจำกัดอยู่ภายใต้เจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็นไปเพื่อการอยู่อาศัย ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องของการตรากฎหมายดังกล่าว อาจพัฒนาไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้รองรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในภายหน้าได้” ถ้าเราต้องแก้ไข กฎหมายอาคารชุด ในประเทศไทยของเรา เราก็ควรศึกษาจากต่างประเทศบ้าง อสังหาริมทรัพย์ในประเทศต่างๆ ถึง 11 ท่านจาก 12 ประเทศ ได้ความดังนี้ สิงคโปร์ นายแฮรี เหยี่ยว (Harry Yeo) … Continue reading “ห้องชุด” ทำเป็นโรงแรม ได้หรือไม่ ?

ความผิด ฐาน โกงเจ้าหนี้ ต้องเจออะไรบ้าง?

ความผิด

ความหมายและความสำคัญของ ความผิด ฐานโกง เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 350) ความผิด ฐานโกง เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 350) เกิดจากการที่ลูกหนี้ได้ย้ายหรือซ่อนเร้นทรัพย์ หรือโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตัวเองเป็นหนี้อันไม่เป็นความจริง โดยเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่น (ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้) ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ความผิด ฐานนี้จะเกิดขึ้นได้ ก่อนอื่นก็จะต้องมีหนี้ระหว่าง ลูกหนี้ กับ เจ้าหนี้ เสียก่อน โดยอาจเป็นหนี้เงิน, หนี้ในการโอน หรือ ส่งมอบทรัพย์สินก็ได้ และต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วย หากเจ้าหนี้ยังไม่ถึงขั้นจะฟ้องคดีให้ชำระหนี้ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นความผิด ส่วนการกระทำในการย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นนั้น โดยหลักแล้วก็เป็นไปตามความหมายเช่นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ลูกหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตน หรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนด้วย มิได้หมายความว่าเมื่อ เจ้าหนี้ ได้ใช้ หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้จะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ของตนไม่ได้เลย ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป เช่น หากลูกหนี้จำเป็นต้องขายทรัพย์ตามสัญญาที่ทำไว้กับบุคคลอื่นก่อนแล้วในราคาปกติธรรมดาโดยมิใช่การสมยอม หรือในกรณีที่ลูกหนี้ขายที่ดินที่ติดจำนองกับธนาคารในราคาตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ธนาคารหลังจากถูกธนาคารเร่งรัดหนี้ ก็ไม่ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ต่อเจ้าหนี้รายอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการ … Continue reading ความผิด ฐาน โกงเจ้าหนี้ ต้องเจออะไรบ้าง?

“หลักการ 3 ป. สู่วัน เกษียณ เริ่มต้นวันนี้ สร้างฝันเพื่ออนาคต”

เกษียณ

สร้างฝันวัน เกษียณ ด้วยหลักการ 3 ป. เกษียณ อายุเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิต ซึ่งต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อเวลานั้นมาถึงเราจะได้มีความพร้อมอย่างรอบด้าน สำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ สำหรับด้านการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วนอกจากจะมี “แผนการ” ที่ดีแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ “การลงมือปฏิบัติ” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ คำว่าบรรลุเป้าหมายสำหรับการลงทุนเพื่อการเกษียณนั้น อาจหมายถึงการมีเงินเพียงพอ ที่จะใช้เพื่อดำรงชีพไปตลอด จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งการวางแผนการเกษียณ และการลงมือทำอย่างมีหลักการจะช่วยให้เรามีความพร้อมทางด้านการเงิน ซึ่งมีส่วนสำคัญจะส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ผมจะขอนำหลักการ 3 ป. ซึ่งเป็นหลักการบริหารที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับองค์กร และระดับบุคคล มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนการเกษียณ ซึ่งหลัก 3 ป. นั้น ประกอบไปด้วย ป.ประสิทธิผล ป.ประสิทธิภาพ และ ป.ประหยัด ซึ่งหลักการเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้าง ทำให้สามารถสร้างฝันวันเกษียณได้อย่าง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ป.ประสิทธิผล ประสิทธิผล (Effectiveness) นั้นหมายถึง การบรรลุผลหรือเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ เมื่อมามองในด้านการวางแผนเกษียณแล้ว ประสิทธิผลเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทาง เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อถึงวันเกษียณควรจะต้องมีรายได้หลังเกษียณ (Retirement Income) และแหล่งการลงทุนต่าง ๆ … Continue reading “หลักการ 3 ป. สู่วัน เกษียณ เริ่มต้นวันนี้ สร้างฝันเพื่ออนาคต”

รีเทนชั่น VS รีไฟแนนซ์ ความแตกต่าง เรื่องที่คนผ่อนบ้าน ต้องรู้

รีเทนชั่น

รีเทนชั่น หรือ รีไฟแนนซ์ บ้าน มีความแตกต่างกันอย่างไร ดอกเบี้ยบ้านสุดโหด จ่ายหลักหมื่น หักดอกหมด เหลือต้นไม่ถึง 10 บาทกำลังเป็นประเด็นร้อนโซเชียล วันนี้เราจะพามารู้จัก 2 ทางเลือกระหว่าง รีเทนชั่น กับ รีไฟแนนซ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นมารู้ความหมายของ 2 คำนี้กันก่อน เพราะมีจุดที่แตกต่างกัน รีไฟแนนซ์ (Refinance) รีไฟแนนซ์ คือ การที่เราขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือ คอนโดฯ และเมื่อเราผ่อนชำระครบ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยก็จะขยับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้เราเจอดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องผ่อนบ้านด้วยจำนวนเงินที่สูงขึ้น เพราะเงินงวดส่วนใหญ่จะถูกนำไปตัดที่ดอกเบี้ยก่อนเงินต้น ทำให้เกิดการรีไฟแนนซ์ขึ้น และเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยมที่สุดเพื่อลดอัตราดอกเบี้ย โดยผู้ขอสินเชื่อจะผ่อนชำระกับธนาคารใหม่ และได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่ารวมถึงค่าผ่อนบ้านต่อเดือนที่น้อยลงอีกด้วย รีเทนชั่น (Retention)  รีเทนชั่น คือ เราไปต่อลองขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ส่วนใหญ่ทำกับธนาคารเดิมที่มีเอกสารและข้อมูลของเราอยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ โดยเราจะเตรียมแค่เอกสาร สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของเราเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการพิจารณาก็ไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระของเราอยู่แล้ว รีไฟแนนซ์ กับ รีเทนชั่น บ้าน ต่างกันอย่างไร? รีเทนชั่น เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม … Continue reading รีเทนชั่น VS รีไฟแนนซ์ ความแตกต่าง เรื่องที่คนผ่อนบ้าน ต้องรู้

เงินออม กับ 7 อคติ ที่ทำให้คนไทยไม่มีเงินเก็บ

เงินออม

‘เงินออม’ เปิดผลสำรวจ ‘คนไทย’ ข้อไหนเยอะสุด ? ‘7 อคติ’ สกัดการมี ‘เงินออม’ ทีดีอาร์ไอเปิดผลสำรวจ ‘คนไทย’ ข้อไหนเยอะสุด? เงินออม : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยแพร่ผลการศึกษาโครงการ “มาตรการที่ได้ผลในการส่งเสริมการวางแผนทางการเงินของประชากรไทยสำหรับสังคมอายุยืน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยหากแบ่ง “อคติเชิงพฤติกรรม (Behavior Bias)” ที่ทำให้การออมเพื่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณจากวัยทำงานไม่เกิดขึ้น เป็น 7 ข้อ คือ 1. ชอบปัจจุบัน สุขวันนี้ (ใช้จ่ายบริโภค) สำคัญกว่าสุขวันหน้า (ออม) 2. ยึดติดสภาวะเดิม พอใจกับที่ทำอยู่ (ออมเงินสดบัญชีธนาคาร) ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง (หุ้น พันธบัตรคุณภาพดี ผลตอบแทนสูงกว่า) หรือไม่เพิ่มอัตราเงินออมแม้รายได้เพิ่มขึ้น 3. โลกแคบ มองทางเลือกการออมระยะสั้น-แคบ เช่น ออมซื้อบ้าน-ซื้อรถ มากกว่าการออมเพื่อการเกษียณ มีทางเลือกการออมจำกัด 4. กลัวสูญเสียเกินเหตุ การออมคือการสูญเสียการบริโภค … Continue reading เงินออม กับ 7 อคติ ที่ทำให้คนไทยไม่มีเงินเก็บ