3 เรื่อง “การเงิน” ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด รู้ไว้เพื่อ “สุขภาพการเงินดี ชีวิตดี”

การเงิน

การเงิน ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น การเก็บออมเงิน, การซื้อประกัน, การจ่ายภาษี หรือ การวางแผนเกษียณ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละคนจะมีความรู้และทัศนคติในเรื่องการเงินที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะใน 3 เรื่องการเงิน ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด

เรื่องที่ 1 : จะออมทั้งที ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ การเงิน ที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ ถึงจะดี

ในความเป็นจริง การออมเงิน ไม่จำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงเสมอไป โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์การเงินให้สอดคล้องกับ “เป้าหมายการออม” และ “ระยะเวลาการออม” ที่เหมาะสม เช่น

  • ออมเงินระยะสั้น เช่น เงินฝากธนาคาร หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เพราะมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง
  • ออมเงินระยะยาว เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น หรือ ประกันบำนาญ เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง

ตัวอย่าง หากเรามีเป้าหมายเก็บออมระยะสั้น (1 ปี) แต่ไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์การเงินระยะยาว คือ กองทุนรวมหุ้น โดยคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี อาจจะทำให้เงินออมของเราขาดทุน

ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ การออมเงิน ไม่ควรมองเฉพาะเรื่องผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ออมเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และระยะเวลาการออม

เรื่องที่ 2 : วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องของคนแก่

หนุ่มสาวที่อยู่ในช่วงเริ่มทำงานมักมองว่า เรื่องวางแผนเกษียณ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ยังไม่จำเป็นต้องรีบวางแผนเก็บเงิน เพราะยังมีเวลาอีกเยอะ แต่ในความเป็นจริง คนทำงานทุกคนต้องมีวันที่เกษียณจากการทำงาน การเริ่มเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถวางแผนเก็บเงินได้เพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเกษียณอายุ ในทางกลับกัน หากเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณช้า ก็จะทำให้มีโอกาสเก็บเงินไม่เพียงพอ ตลอดการใช้ชีวิตหลังเกษียณ

ตัวอย่าง หากเราเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณตอนอายุ 50 ปี ตั้งใจว่าจะเกษียณอายุจากการทำงานตอนอายุ 60 ปี ซึ่งวางแผนใช้ชีวิตช่วงหลังเกษียณอายุ 61-80 ปี จะสังเกตว่ากรณีนี้เรามีระยะเวลาเก็บเงินเหลืออีกประมาณ 10 ปี เพื่อให้มีเงินพอใช้ต่อไปอีก 20 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และอาจจะเก็บเงินไม่พอสำหรับการใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณ

ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่ช่วงที่เริ่มทำงาน

เรื่องที่ 3 : การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ คือ การจ่ายเบี้ยทิ้ง

หลายคนมักมองว่า การซื้อประกันสุขภาพ เป็นการจ่ายเบี้ยทิ้ง ถ้าหากเราไม่ป่วยจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป แต่ในความเป็นจริง การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ คือ การซื้อคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ตัวอย่าง ในวันที่ใกล้เกษียณอายุจากการทำงาน หากว่าเราเก็บเงินก้อน เพื่อเกษียณได้ตามเป้าหมายสำเร็จแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น คือ เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก และต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องถอนเงินก้อนที่เราเตรียมไว้ใช้สำหรับเกษียณ มาจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ทำให้แผนที่เราเตรียมเงินไว้ใช้ ช่วงหลังเกษียณอายุ ผิดพลาดไป !

ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ ประกันสุขภาพ คือการวางแผนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เป็นการใช้ “เงินก้อนเล็ก เพื่อปกป้อง เงินก้อนใหญ่”

จะเห็นได้ว่า 3 เรื่องการเงินนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเงินอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น


ให้ Antonio ช่วยให้เงินของคุณทำงานให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ กำไร หรือที่เรียกว่า Passive Income ให้ค่อยๆเติบโตไปด้วยกัน ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor) และประสบการณ์สินเชื่อ จากธนาคารชั้นนำหลายธนาคาร กว่า 20 ปี ประสบการณ์ของเราช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนให้กับคุณได้

ร่วมลงทุน กับ Antonio ได้อะไรบ้าง

1. มีเงินน้อยก็สร้างโอกาสที่ดีได้

2. มีเงินแต่ไม่อยากทำเอง หรือ ทำไม่เป็น ให้เราทำแทนคุณ

3. ร่วมแสดงความเป็นเจ้าของได้

4. ความเสี่ยงต่ำ หรือ แทบไม่มีเลย เพราะเรารับความเสี่ยงแทนให้คุณเอง

5. ประสบการณ์ของเราช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนให้กับคุณ

6. เรามีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง

7. ผลกำไรที่คุณได้ สมน้ำสมเนื้อแน่นอน

8. Passive Income ที่หลายคนใฝ่ฝัน เราทำให้คุณมีได้เช่นกัน

9. วางใจได้ ด้วยประสบการณ์และชื่อเสียง เราจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง

“ทั้งหมด 9 ข้อเบื้องต้นนี้ ก็เพียงพอให้เราก้าวหน้าไปด้วยกัน”

โอกาสของคุณมาถึงแล้วครับ ร่วมลงทุนกับเรา Antonio สร้างธุรกิจร่วมกัน

“เราไม่ได้ขายฝัน แต่เราทำมันให้เกิดขึ้นจริง”

สนใจร่วมลงทุนกับเราติดต่อได้ ที่ LineID : @Antonio

หรือ ติดต่อที่เบอร์ 065 626 4545 จะมีทีมงาน คอยรับสายและให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

Leave a Reply