หนี้สาธารณะไทย คือ จำนวนเงินที่รัฐบาล กู้เงินในระหว่างประเทศ หรือ ภายในประเทศ เพื่อใช้เงินในลงทุน การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม ให้บริการส่วนต่าง ๆ ร่วมถึงการฟื้นฟูประเทศด้วย อย่างในช่วงวิกฤติ โควิด-19 ที่ผ่านมา เพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชน เป็นต้น
หนี้สาธารณะ หรือ หนี้ที่รัฐบาลกู้มา ต้องชำระคืนในอนาคตด้วยการหารายได้จากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน และภาคธุรกิจ
ปัจจุบัน หนี้สาธารณะไทย ส่วนใหญ่ราว 98% เป็นหนี้ในประเทศ และมีเพียง 2% ที่เป็นหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการมีหนี้ต่างประเทศน้อยก็นับว่าไทยมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ

แต่…การมี หนี้สาธารณะ มากจนเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความเสียหายให้กับประชาชน และรัฐบาลเอง การดูแลและการควบคุมหนี้สาธารณะ เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเสถียรให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยเฉพาะการที่ต้องคงสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ของ GDP (จากเดิม ไม่เกิน 60% ซึ่งเป็นการขยายแบบชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาต่ำกว่า 60% ต่อ GDP ภายใน 10 ปี โดยที่เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตปีละ 3-5%)
สรุป
รายได้หลักของรัฐบาล คือ รายได้จากภาษี อย่างไรก็ตาม มีหลายครั้งที่การจัดเก็บรายได้นั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งอาจเกิดจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือ เศรษฐกิจโลก
แต่เพื่อให้นโยบายต่าง ๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ รัฐบาลจึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย จนนำมาซึ่ง หนี้สาธารณะ (Public Debt) ซึ่งก็มาจากการออกพันธบัตรรัฐบาล หรือ กู้ยืมเงินจากคนอื่นนั่นเอง
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ หนี้สาธารณะ
แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio
ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube
และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company
สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ
ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila
ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com
หรือ LineID : @antonioattorney
ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้
หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME