จะปรับโครงสร้างหนี้ ทำไมต้องรอให้เป็นหนี้เสีย

ลูกหนี้ทั้งหลาย ที่เริ่มรู้ตัวว่า อนาคตอันใกล้ จะผ่อนชำระเงินกู้ไม่ได้ ตามสัญญากู้ที่มีกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้บางคนรู้ตัวก่อน ก็ไปเจรจากับเจ้าหนี้ก่อนเลย บางธนาคารก็ดี เร่งปรับแผน เร่งปรับโครงสร้างหนีให้ ก่อนที่จะเป็นหนี้เสีย บางธนาคารบอกว่าไม่มีนโยบายปรับโครงสร้างหนีให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการผ่อนชำระดีอยู่ คุณอยากปรับโครงสร้างหนี้ใช่ไหม? คุณก็ไม่ต้องจ่ายหนี้ ทำให้เป็นหนี้เสียไปเลย แล้วเดี๋ยวค่อยมาคุยกันอีกรอบ เมื่อถึงเวลานั้น

ผู้บริหารระดับสูงหลายธนาคาร รวมถึงแบงค์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย มักจะออกมาพูดเสมอว่า หากเริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ ให้รีบเข้าไปคุยกับธนาคาร ก่อนที่จะเป็นหนี้เสีย เข้าไปชี้แจงว่า สถานการณ์ปัจจุบันรายได้เป็นอย่างไร ความสามารถในการชำระหนี้เป็นอย่างไร เข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ตามกำลังความสามารถที่มีอยู่ ก่อนที่เป็นหนี้เสีย

ซึ่งต่างๆนานาที่กล่าวมานี้ ก็เป็นเพียง คำพูดสวยหรูของผู้บริหารธนาคาร และผู้บริหารแบงค์ชาติ แต่พอเอาเข้าจริงๆแล้ว เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ กลับเพิกเฉย ส่วนใหญ่มักจะพูดว่า ให้เป็นหนี้เสียก่อน แล้วค่อยมาคุย ค่อยมาปรับโครงสร้างหนี้สรุปคือยังไงกันแน่ ผมเองอยู่ในวงการนี้มานาน ก็ยังไม่มั่นใจว่าตกลง ธนาคารมันทำให้ลูกค้าไม่ได้ หรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมันขี้เกียจทำกันแน่

ช่วงเวลาขณะนี้ ที่อยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก เพื่อช่วยลูกหนี้ 2 กลุ่ม คือ

1. โครงการ DR Biz โครงการนี้ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 50 ถึง 500 ล้านบาท มีหลักการคือ คล้ายๆกับการยื่นฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เพียงแต่ ลูกหนี้หรือผู้ประกอบการเหล่านี้ มีวงเงินสินเชื่อหลากหลายสถาบันการเงิน หรือภาษาชาวบ้านก็คือมีเจ้าหนี้หลายราย ก็ให้เจรจาหนี้ กับสถาบันการเงิน ที่มีหนี้เยอะสุด และส่วนใหญ่สถาบันการเงินที่มีหนี้เยอะสุดมักจะมีหลักประกันมากสุดด้วยเช่นกัน หรือเรียกว่ามี core asset อยู่กับสถาบันการเงินนั้น โดยให้ลูกหนี้เสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ต่อเจ้าหนี้หลัก หรือเจ้าหนี้รายใหญ่เท่านั้นรายเดียว แผนที่ว่าต้องชัดเจน และปฏิบัติได้จริง ควรจะมีผู้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้แบบมืออาชีพ อันนี้บอกเลยครับควรเลือกใช้บริษัทผม Antonio Attorney

คิดว่ายังไงครับ โครงการ DR Biz นี้ คิดว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ผมเองมีลูกค้าที่กำลังจะขอยื่นเข้าโครงการ DR Biz ซึ่งบริษัทผม ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน ได้นำเสนอแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ทำแผนชำระหนี้ ตามความสามารถปัจจุบันของลูกค้า หรือลูกหนี้ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่า เจ้าหนี้หลักที่เราเข้าไปคุย จะมีผลตอบรับเป็นเช่นไร…หรือมันเป็นเพียงโครงการ ลมๆแล้งๆ ของแบงค์ชาติเท่านั้น

2. โครงการ Debt Consolidation คือการรวมหนี้ของลูกหนี้รายย่อย เป็นการรวมหนี้ระหว่างหนี้บ้าน กับหนี้ต่างๆ เช่น หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดหรือ สินเชื่อบุคคล เป็นต้น มีข้อแม้ว่า ทุกหนี้ที่มารวมกับหนี้บ้านต้องเป็นธนาคารเดียวกันกับสินเชื่อบ้านที่ปล่อยกู้ หนี้ที่จะเอามารวมกับ หนี้บ้านเป็นหนี้เสียก็ได้ แต่หนี้บ้านต้องไม่เป็นหนี้เสีย โดยเอามารวมหนี้เป็นก้อนเดียวกัน แล้วผ่อนชำระตามระยะเวลาผ่อนชำระหนี้บ้านหรือจะผ่อนหมดก่อนก็ได้ โดยหนี้ย่อยๆเหล่านี้ ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ย ที่อัตรา MRR เท่านั้น

แต่ข้อสังเกต ผมเดานะ ต้องดูราคาประเมินบ้านด้วยว่าราคาประเมินบ้านได้เท่าไหร่ และภาระหนี้บ้านปัจจุบันเหลืออยู่เท่าไหร่ หากเอาหนี้ย่อยๆมารวมกันเกินมูลค่าราคาประเมินบ้าน ผมว่าธนาคารก็จะไม่รับ

ครับ โครงการดีๆจากแบงค์ชาติ 2 โครงการนี้ ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs วงเงิน 50 ถึง 500 ล้าน และครอบคลุมไปถึงลูกหนี้รายย่อย แต่ทั้ง 2 โครงการนี้ ความคิดเห็นส่วนตัวของผม ผมว่า มันเป็นแค่โครงการสวยหรูที่ออกมาเป็นเพียงแค่กระดาษ ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ผมล่ะเบื่อจริงๆกับไอ้นโยบายแบบนี้ ขอให้ลูกหนี้ประเทศไทยโชคดีกันทุกคน ขอบคุณครับ

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ YouTube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

Leave a Reply