บสย. ห่วงหนี้เสีย NPL พุ่ง หรือห่วงตัวเองกันแน่

บสย. คือหน่วยงานของรัฐ ที่มีชื่อเต็มๆว่า บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งมีหน้าที่ ค้ำประกันหนี้ ให้กับลูกหนี้ทั้งหลาย ที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอเพื่อการค้ำประกัน ในการขอสินเชื่อ สภาพ บสย. ตอนนี้ ผมบอกได้เลยครับว่า อ่วม !!! เพราะสถานการณ์ตอนนี้ แต่ละธนาคาร เร่งดำเนินคดีกับลูกหนี้ เพื่อที่จะเคลม การค้ำประกันหนี้จาก บสย. จนตอนนี้มีบางธนาคาร โดนเบรก จาก บสย. ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้ คือพอแจ้งว่าถ้าเป็นลูกหนี้จากธนาคารนี้ บสย. ขอเบรกการชำระหนี้แทนก่อนเนื่องจากเฉพาะแบงค์นี้แบงค์เดียว ก็น่าจะหลายหมื่นล้านแล้วมั้งครับ ไม่ขอเอ่ยชื่อนะครับ แต่ธนาคารนี้เป็นที่เลื่องลือเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ในการปล่อยกู้ ที่เขาเรียกว่า สินเชื่อ 3 เท่า โดยคำว่า 3 เท่านั้นก็คือ บสย.คนค้ำประกัน ส่วนเกิน 2 เท่าละครับ ตอนนี้บอกได้เลยว่า อ่วม อรทัย บสย.นะครับ อ่วม

จากสถานการณ์ข้างต้น บสย. ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ ก็ไม่อยากให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้ มีปัญหาต่อกัน เพราะมิฉะนั้นความซวยมันจะตกที่ บสย. คือจะโดนเคลมให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ ตอนนี้ บสย. เอง จึงได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า ให้ลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการ แบบที่บริษัทใหญ่ๆเขาทำกัน เช่นการบินไทย หรือ เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คือ ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่ง ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้การบินไทย ก็ได้รับ การอนุมัติให้เข้าฟื้นฟูกิจการได้ จากคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง แต่คุณผู้อ่านหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า บริษัทเล็กๆ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเล็กๆ รวมถึงบุคคลธรรมดา ที่มีหนี้ ก็สามารถขอฟื้นฟูกิจการได้เช่นกัน

การขอฟื้นฟูกิจการ มีข้อดีอย่างไร? หลักการที่สำคัญในการฟื้นฟูกิจการก็คือ ทำให้ลูกหนี้ สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ โดยที่เจ้าหนี้ก็ยังจะได้รับชำระหนี้ จะเต็มจำนวน หรือมีการตัดหนี้ไปบางส่วน แต่ผลสุดท้าย คือลูกหนี้ยังสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ และที่สำคัญ คำว่า automatic stay คือเมื่อศาลยื่นคำขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ กระบวนการต่างๆของเจ้าหนี้ ที่จะกระทำกับลูกหนี้ จะต้องหยุดลงทุกกรณี แล้วรอคำสั่งศาลล้มละลายกลางว่า จะรับ หรือไม่รับ ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แต่อย่างที่บอกครับ หากเจ้าหนี้และลูกหนี้เจรจาพูดคุยกันด้วยดี ความซวยก็ไม่ตกไปที่ บสย. ครับ ทีนี้เรามาดูกันครับว่า เงื่อนไขต่างๆในการขอฟื้นฟูกิจการ ของบริษัทเล็กๆ หรือนิติบุคคลเล็กๆหรือกระทั่งบุคคลธรรมดาจะมี ขอบเขต และหลักการอย่างไรบ้าง

จากสถานการณ์ปัจจุบันและวันที่เขียนบทความนี้คือเดือนกันยายน 2563 บสย.ประเมิน หนี้เสียเอสเอ็มอีอาจพุ่ง10%หรือ 2 แสนล้านบาท หลังพ้นระยะพักหนี้ในสิ้นก.ย.นี้ แนะใช้แนวทางฟื้นฟูตามกฎหมายล้มละลายฉบับที่ 9เพื่อให้ลูกหนี้มีระยะเวลาในการฟื้นฟูและชำระหนี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า

ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีที่เป็นหนี้เสียแล้ว 4.9 แสนล้านบาท หากหลังพ้นโครงการพักหนี้ของเอสเอ็มอีแล้ว ลูกหนี้เหล่านั้น กลายเป็นหนี้เสีย 10%ก็จะเพิ่มหนี้เสียในระบบอีก 2 แสนล้านบาท ถ้า 20%ก็อีก 4 แสนล้านบาท

เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และให้โอกาสเอสเอ็มอีที่ยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ไม่ให้ถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ควรที่จะต้องใช้แนวทางของ พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับที่ 9ที่ออกมาใช้บังคับในปี2559 เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ สามารถเสนอแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อเสนอต่อศาลล้มละลายกลางได้ ซึ่งหากแผนฟื้นฟูได้รับการอนุมัติจากศาล ลูกหนี้ก็จะมีเวลาดำเนินการตามแผนเพื่อฟื้นฟูกิจการนำเงินมาชำระเจ้าหนี้ได้ภายใน 3 ปี

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับที่ 9มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับที่ 11 แตกต่างกันตรงที่ ฉบับที่ 9 กำหนดมูลหนี้ของลูกหนี้ไม่เกิน 10 ล้านบาท ขณะที่ ฉบับที่ 11 มูลหนี้ต้องมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปและฉบับที่ 9 มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนต่ำกว่าเพียง 1 พันบาท และมีเงินวางค้ำประกันแผนอีก 1 หมื่นบาท โดยจะให้เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผนก็ได้ ขณะที่ การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฉบับที่ 11 ต้องใช้เงินเพื่อดำเนินการหลายล้านบาท และต้องจ้างผู้บริหารแผนฟื้นฟู

เมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลายแล้ว กระบวนการก็เช่นเดียวกันกับการจัดทำแผนฟื้นฟูของกิจการขนาดใหญ่ คือ จะเข้าสู่Mode Automatic Stayกล่าวคือ เจ้าหนี้จะมาบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์หรือตัดสาธารณูปโภคไม่ได้

ทั้งนี้ หนี้ของลูกหนี้เอสเอ็มอีรายย่อย จะต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ กรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า นำมาใช้เพื่อธุรกิจโดยหากเป็นหนี้ของบุคคล ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จะต้องมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งสามารถเข้าสู่กระบวนการของกฎหมายฉบับที่ 9 นี้ได้

ส่วนกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือคณะบุคคล จะต้องมีหนี้ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป และกรณีเป็นบริษัทจำกัด จะต้องมีหนี้มากกว่า 3 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาททั้งนี้ การโหวตเพื่อรับแผนฟื้นฟู ก็ใช้มติ 75%ของมูลหนี้ ในการอนุมัติ เช่นเดียวกับการอนุมัติแผนฟื้นฟูของกิจการขนาดใหญ่

ครับ บสย. ในฐานะมีหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ ซึ่ง บสย. เป็นหน่วยงานของรัฐ ตอนนี้เอง ก็มีภาระผูกพัน ที่จะต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนวนมาก และก็มีหน้าที่ไล่เบี้ยกับลูกหนี้เหล่านั้นที่เป็นหนี้เสีย จึงไม่แปลกใจครับ ที่ บสย. เองจะสนับสนุนให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ เจรจาหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอเข้าฟื้นฟูกิจการ ก็เพื่อความอยู่รอดของ บสย.เอง

ครับ ไม่ว่าลูกหนี้ต้องการที่จะเข้ารับการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลาง หรือ พรุ่งนี้ต้องการที่จะขอปรับโครงสร้างหนี้ Antonio Attorney เราในฐานะที่ปรึกษาด้านการเงิน และกฎหมาย ยินดีและพร้อมให้บริการ กับลูกหนี้ SME ที่มีปัญหา หรือมีแนวโน้มจะเริ่มมีปัญหาในอนาคต ติดต่อเราครับ LineID @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ YouTube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

Leave a Reply