การค้าขายสำหรับรายย่อย ถ้าเป็นการขายหน้าร้านของตนเอง Traffic ของลูกค้า อาจจะมีข้อจำกัด ดังนั้น ธุรกิจ SME รายย่อย เหล่านี้ จะมีความจำเป็นที่เจ้าต้องมีการค้าขาย กับ คู่ค้ารายใหญ่ๆ ซึ่งมีสาขาจำนวนมากทั่วประเทศ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กระจายเป็นวงกว้าง ถ้าสินค้าโดน ยอดขายกระฉูดแน่นอน แต่หากต้องแลกมาด้วยการดึงเงิน เครดิตเทอมกันยาว 3-6 เดือน สำหรับ ธุรกิจ SME ที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ ไม่มีวงเงิน OD PN หรือ ขายลดเช็ค ขาย Invoice จะทำกันอย่างไรละครับ
การขาดสภาพคล่องนับเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของ SMEs ที่นำไปสู่ปัญหาด้านหนี้สินและการสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน โดย SMEs ส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาด้านการบริหารเงินทุนหมุนเวียน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก “การถูกคู่ค้ายืดหรือขยายระยะเวลาการชำระสินเชื่อการค้า หรือระยะเวลา Credit term”
ซึ่งจากการศึกษาพบว่า SMEs ที่ทำธุรกิจหรือเป็นคู่ค้ากับธุรกิจขนาดใหญ่ มักมีแนวโน้มจะถูกต่อรองขยายระยะเวลา Credit term ให้ยาวนานขึ้น โดยปี 2559 ระยะเวลา Credit term สำหรับบริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 55 วัน และสำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ นานถึง 62 วัน ซึ่งสูงกว่าระยะเวลา Credit term โดยเฉลี่ยที่ SMEs ให้แก่คู่ค้าที่ประมาณ 30 – 45 วัน
นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบัน SMEs ในประเทศไทยกว่าร้อยละ 96 มีการซื้อขายในรูปแบบเงินเชื่อ หรือมีการให้เครดิตการค้าแก่ผู้ซื้อ โดยระยะเวลา Credit term โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2559 มาอยู่ที่ 60 วัน และในบางธุรกิจได้ขยายไปสูงสุดถึง 120 วัน ส่งผลให้ SMEs จำนวนมากได้รับผลกระทบจากสภาพคล่องทางการเงิน ที่ลดลง ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term จึงถือเป็นหนึ่งในกลไกการแก้ไขและบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง ให้แก่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs อีกทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำของอำนาจการต่อรองระหว่าง SMEs และบริษัทขนาดใหญ่
ซึ่งทีมวิจัยเสนอให้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) สำหรับการซื้อ-ขายระหว่างภาคธุรกิจ โดยให้มีผลบังคับใช้ และบทลงโทษทางกฎหมาย และมีแรงจูงใจด้านบวกให้ ภาคธุรกิจปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อให้การบรรเทาและแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของ SMEs สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ชัดเจน 3 ประการ คือ
1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term โดยลูกหนี้การค้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายใน ระยะเวลา 30 – 45 วัน
2. เสนอให้มีการเปิดเผยข้อมูลระยะเวลา Credit term โดยเฉลี่ยในการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูล ประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ
3. ศึกษาและกำหนดแนวทางการส่งเสริมและสร้าง แรงจูงใจสำหรับภาคธุรกิจให้มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ในการลดระยะเวลา Credit term
ขอบคุณแบงค์ชาติ ที่สนใจ และหาช่องทางช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ SME ให้อยู่รอดปลอดภัยในยุค รายใหญ่ของเมือง
ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ YouTube
และติดตามผมต่อได้ที่ facebook/AntonioAttorney
สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ
ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney
