ค่าจ้าง : เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศไทยมีข้อถกเถียงเรื่องการจ่ายเงินเดือนว่าควรหรือไม่ที่จะแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นเดือนละสองครั้ง หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้แบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชเป็นสองงวด เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของข้าราชการ หลังจากมีข้อถกเถียง มีเสียงสนับสนุนและเสียงค้าน รัฐบาลและนายกฯเศรษฐาก็ได้ชี้แจงว่าให้เป็น “ทางเลือก” ใครอยากรับเป็นรายเดือนเหมือนเดิมก็ได้ หรือใครอยากรับเป็นสองงวดก็เลือกได้ตามความพอใจ จากประเด็นดังกล่าว มาดูกันว่าการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานในต่างประเทศ นิยมเลือกความถี่ในการจ่ายเป็นแบบไหน แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงข้อสังเกต-ข้อค้นพบ ต่าง ๆ ว่าการเลือกรูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้างของสถานประกอบการ สามารถบอกอะไรในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ๆ ได้ด้วย 4 รูปแบบความถี่ในการจ่าย ค่าจ้าง มีข้อมูลจาก คลาวด์เพย์ (Cloudpay) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันการจ่ายค่าจ้างระดับโลกที่บอกไว้ว่า ความถี่ในการจ่ายค่าจ้างในระบบทั่วโลกมีอยู่ 4 รูปแบบ ได้แก่ รายสัปดาห์ การจ่ายเงินรายสัปดาห์โดยหลักการแล้วอาจจะจ่ายในวันไหนในสัปดาห์ก็ได้ แต่วันศุกร์เป็นวันที่นิยมกันมากที่สุด รูปแบบการจ่ายรายสัปดาห์เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับพนักงานที่ต้องการได้รับค่าจ้างเร็วขึ้นและสม่ำเสมอมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการทำงานล่วงเวลา และสามารถช่วยคนทำงานจัดการกระแสเงินสดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินรายสัปดาห์มีต้นทุนสูงกว่าและต้องใช้เวลาการจัดการนานกว่าสำหรับองค์กรหรือนายจ้าง รายสองสัปดาห์ การจ่ายเงินรายสองสัปดาห์ หรือ 14 วัน ส่วนใหญ่จะจ่ายใน “วัน” ที่กำหนดของสัปดาห์ที่จะต้องจ่ายค่าจ้าง เช่น วันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 2 และวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 4 … Continue reading “ความถี่การจ่าย ค่าจ้าง” แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
“ความถี่การจ่าย ค่าจ้าง” แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
