ภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับใหม่เป็นเท่าไหร่ ใครได้ใครเสีย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ อัปเดตปรับใหม่เป็นเท่าไหร่ ใครได้ใครเสีย

ทำความเข้าใจ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” อัตราการเก็บอัปเดตล่าสุด ลดภาษีเหลือ 6.3% จริงหรือไม่ สรุปธุรกิจ ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ต้องจัดการภาษี VAT อย่างไร?

​จากประกาศกฎหมายล่าสุด เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2567

และจากประกาศกฎหมายลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” จะจัดเก็บอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 7 หรือ 7% อย่างที่เราท่านเข้าใจหรือไม่ หรือบางข้อมูลบอกว่าเมื่อก่อนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 10% เลยทีเดียว

ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ทุกคนต้องเสียจากการซื้อสินค้าและบริการอยู่แล้ว ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่าไหร่กันแน่ ได้จากบทความต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คืออะไร ?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขาย และการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยมีกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกฎหมายได้มีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มียกเว้นว่าผู้มีรายได้นั้นจะอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

รวมถึง สินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ขายผ่านตัวแทนที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย ตัวแทนนั้น ๆ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยจะต้องยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมกับนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป

ทั้งนี้ หากผู้มีรายได้มีทั้งรายได้จากงานประจำ คือได้รับเป็นเงินเดือนที่ทำอยู่ และมีรายได้จากการทำธุรกิจส่วนตัวเป็นของตนเอง ให้นำแค่รายได้จากการประกอบธุรกิจนอกเหนือจากเงินเดือนมาคิดเท่านั้น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับลดเหลือ 6.3% จริงหรือไม่

เดิมทีเราคุ้นเคยกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT อยู่ที่ 7% มาโดยตลอด และเมื่อเห็นประกาศล่าสุดที่ให้คงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 6.3 หรือ 6.3% นั้น หลายคนอาจสงสัยว่า 6.3% จริงหรือไม่ แล้วทำไมเรายังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% อยู่ ?

โดยกรมสรรพากรได้อธิบายไว้ครั้งที่ประกาศคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 เมื่อปีพ.ศ.2535 ว่า…

“ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9  ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0 “

กล่าวคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่สมัยก่อน กฎหมายกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 10 หรือ 10% แต่เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน จึงได้มีการลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงเหลือร้อยละ 6.3 หรือ 6.3% แต่เรายังต้องเสียภาษีในส่วนของภาษีท้องถิ่นในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ จึงรวมเป็น 7% นั่นเอง

หลักการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ในกรณีที่ผู้มีรายได้ยจากการประกอบกิจการเกิน 1.8 ล้านบาท และได้ทำการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่เพิ่มเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นกิจการจะมีภาระหน้าที่ในการบวก 7% จากราคาสินค้าที่ขายหรือราคาของบริการ โดยมีวิธีคำนวณ VAT 7% ดังนี้

ฝั่งซื้อ หากกิจการซื้อสินค้ามูลค่า 100 บาท กิจการจะมีภาษีซื้อ 7 บาท จำนวนเงินที่จะต้องเสียให้กับผู้ขายเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจด VAT กิจการจะต้องจ่ายเงินทั้งหมด 107 บาท

ฝั่งขาย หากกิจการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า 200 บาท จะมีภาษีขาย 14 บาท ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินทั้งหมดให้กิจการ 214 บาท ซึ่ง 14 บาท คือภาษีขายที่กิจการเก็บมาจากลูกค้าเพิ่มแทนกรมสรรพากร และ 7 บาทของภาษีซื้อ คือภาษีที่กิจการจ่ายให้กับกรมสรรพากรล่วงหน้า

ดังนั้น ในแต่ละเดือนกิจการจะต้องนำภาษีขาย และภาษีซื้อมาเช็กว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน ถ้า ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ดังตัวอย่าง กิจการต้องจ่ายเพิ่มให้กับกรมสรรพากรอีก 7 บาท ณ วันที่ 15 ของเดือนถัดไป

แต่…ในกรณีที่กิจการมี ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย อย่างเช่นเดือนนั้นซื้อสินค้ามาเยอะ แต่ขายได้น้อย กิจการสามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวขอคืนจากกรมสรรพากรได้ หรือที่นิยมกันคือให้ยกเครดิตภาษีซื้อไปใช้ในเดือนถัดไป

นอกจากนี้ในทุกๆ เดือนกิจการจะต้องให้ผู้จัดทำบัญชีจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย และนำส่งกรมสรรพากรด้วย

สรุป ยังคงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7%

ดังนั้น สรุปได้ว่าผู้บริโภคอุปโภคทั้งหลาย และผู้ประกอบการบางส่วนที่รับภาระในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เอง ยังคงอัตราไว้ที่ 7% เช่นเดิมจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และสนับสนุนการอุปโภคบริโภคในประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจด้วยนั่นเอง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปัญหาหนี้ สำหรับ เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ บริษัท SME หากท่าน เริ่มมีปัญหา มีภาระหนี้มาก ผ่อนชำระหนี้ไม่ไหว เริ่มค้างชำระงวด ธนาคารทวงหนี้ หรือ บางรายเป็นหนี้เสีย กลายเป็นหนี้เสีย NPL ให้เราหาทางออกให้ครับ

ปัญหาเรื่องหนี้ หากเริ่มแก้ไข ตั้งแต่ต้น แบบถูกหลัก ปัญหามันจะจบ และไม่บานปลาย

ให้เรา Antonio Attorney ดูแลคุณ คุณเพียง เอาเวลาไปทำงาน หรือ ทำธุรกิจ ของคุณ ต่อไป อย่าเสียเวลา เสียสมาธิ หรือปวดหัว วุ่นวาย จากการเตรียมเอกสาร อย่ามัวแต่กังวล กับปัญหาต่างๆ ให้เราดำเนินการแทนคุณครับ (บริการในรูปแบบบริษัท เรามีทีมงานด้านการเงิน และกฎหมาย เพื่อเป็นทีมดำเนินการแทนคุณ)

ให้เราแก้ปัญหาหนี้ แนะนำแนวทางการแก้หนี้ แนะนำแนวทางการเจรจาหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เรามีบริการ ในหลากหลายรูปแบบครับ

หรือ ท่านที่ต้องการกู้เงิน ต้องการวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ เพื่อประกอบธุรกิจ เราก็มีบริการ จัดหาวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ กับ สถาบันการเงินให้กับคุณ

ผม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อันโตนิโอ แอททอร์นี จำกัด ผมมีประสบการณ์ ในการเป็น ผู้วิเคราะห์สินเชื่อ จากธนาคาร ชั้นนำหลายธนาคาร และผมยังเป็นที่ปรึกษาการเงิน Financial Advisor ( F. A.) ให้กับ ธุรกิจ กิจการ SME ตั้แต่รายกลาง ไปจนถึงรายใหญ่

ผมมีประสบการณ์ มายาวนาน ผมผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 วิกฤตเศรษฐกิจ แฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 จนมาถึง วิกฤตโควิด ในครั้งนี้ ผมมีประสบกาณ์ ในฐานะ ที่ปรึกษาการเงิน มาอย่างยาวนาน กว่า 20 ปี

อะไรบ้าง ที่คุณจะได้จากผม

1. เทคนิค และวิธีการเจรจาต่อรอง แก้ไขหนี้ และนำเสนอข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้การแก้หนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จลุล่วง

2. หากกรณี ขอสินเชื่อ ผมจะดูและแนะนำ การเตรียมข้อมูล และเอกสาร เพื่อให้คุณยื่นกู้ ขอสินเชื่อ ให้ผ่าน โดยผมจะแนะนำเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ดูแลอนุมัติสินเชื่อ ให้กับคุณ ในการยื่นเรื่องที่ง่ายขึ้น

3. ในระหว่าง ที่ดำเนินการดังกล่าว ทั้งแก้หนี้ หรือ ขอสินเชื่อ ติดต่อ สอบถาม ผมพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับคุณ โดยต่อเนื่องครับ

อัตราค่าบริการ มี 2 แบบ

1. แบบปรึกษา ผ่านโทรศัพท์เท่านั้น ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) จำนวน 2,500 บาท

2. แบบพบเจอตัว (Private Session) 1 ครั้ง หลังจากนั้น ปรึกษาโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) ค่าบริการ 7,000 บาท

ชื่อบัญชี Yuttana Kosakul

KBank 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0

หลังจากโอนเงินแล้ว ส่งสลิปมาที่ LineID : @antonio หรือ email : antonioattorney@gmail.com แล้วแจ้ง ชื่อ และเบอร์ติดต่อ แล้ว ผมจะรีบติดต่อเพื่อนัดหมายครับ

อย่าปล่อยให้ปัญหาหนี้เสีย NPL ของคุณลุกลาม จนต้องถึงขั้น ดำเนินคดี ฟ้องร้อง ขึ้นศาล หรือ บางกรณี จนถึงขั้น บังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้มืออาชีพอย่างผม ได้เป็นที่ปรึกษา เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้ ของคุณ ปัญหาหนี้ของ ธุรกิจ บริษัท กิจการของคุณ ให้รอด และสามารถกลับมาตั้งต้น ทำธุรกิจ ให้เติบโต มันคง ได้ต่อไปนะครับ

———————————————————

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ

https://www.youtube.com/channel/UCcADQXY_tZ4vHBfWCK0lTSw/join

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน สินเชื่อธุรกิจ แก้หนี้ เป็นการส่วนตัว

คลิกเลยครับ https://bit.ly/3lcHLXe

หรือ ที่ปรึกษาการเงิน แบบผู้ประกอบการ SME คลิกเลยครับ https://bit.ly/38DOx3j

ติดต่อ ผมที่ LineID : @antonio / 065 626 4545

หรือ email : antonioattorney@gmail.com

และติดตามผมต่อได้ที่ https://www.facebook.com/AntonioAttorney.Company/

และที่ https://antonioattorney.com/

Leave a Reply