“ความถี่การจ่าย ค่าจ้าง” แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ค่าจ้าง

ค่าจ้าง : เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศไทยมีข้อถกเถียงเรื่องการจ่ายเงินเดือนว่าควรหรือไม่ที่จะแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นเดือนละสองครั้ง หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้แบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชเป็นสองงวด เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของข้าราชการ

หลังจากมีข้อถกเถียง มีเสียงสนับสนุนและเสียงค้าน รัฐบาลและนายกฯเศรษฐาก็ได้ชี้แจงว่าให้เป็น “ทางเลือก” ใครอยากรับเป็นรายเดือนเหมือนเดิมก็ได้ หรือใครอยากรับเป็นสองงวดก็เลือกได้ตามความพอใจ

จากประเด็นดังกล่าว มาดูกันว่าการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานในต่างประเทศ นิยมเลือกความถี่ในการจ่ายเป็นแบบไหน แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงข้อสังเกต-ข้อค้นพบ ต่าง ๆ ว่าการเลือกรูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้างของสถานประกอบการ สามารถบอกอะไรในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ๆ ได้ด้วย

4 รูปแบบความถี่ในการจ่าย ค่าจ้าง

มีข้อมูลจาก คลาวด์เพย์ (Cloudpay) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันการจ่ายค่าจ้างระดับโลกที่บอกไว้ว่า ความถี่ในการจ่ายค่าจ้างในระบบทั่วโลกมีอยู่ 4 รูปแบบ ได้แก่

รายสัปดาห์

การจ่ายเงินรายสัปดาห์โดยหลักการแล้วอาจจะจ่ายในวันไหนในสัปดาห์ก็ได้ แต่วันศุกร์เป็นวันที่นิยมกันมากที่สุด

รูปแบบการจ่ายรายสัปดาห์เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับพนักงานที่ต้องการได้รับค่าจ้างเร็วขึ้นและสม่ำเสมอมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการทำงานล่วงเวลา และสามารถช่วยคนทำงานจัดการกระแสเงินสดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินรายสัปดาห์มีต้นทุนสูงกว่าและต้องใช้เวลาการจัดการนานกว่าสำหรับองค์กรหรือนายจ้าง

รายสองสัปดาห์

การจ่ายเงินรายสองสัปดาห์ หรือ 14 วัน ส่วนใหญ่จะจ่ายใน “วัน” ที่กำหนดของสัปดาห์ที่จะต้องจ่ายค่าจ้าง เช่น วันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 2 และวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน

การจ่ายค่าจ้างรูปแบบนี้ ช่วยให้การบริหารบัญชีเงินเดือนง่ายขึ้น และมีต้นทุนถูกกว่ารายสัปดาห์ แต่อาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับคนทำงาน เพราะจะได้รับค่าจ้างใน “วันที่” ที่ต่างกันในแต่ละเดือน และจะมีบางเดือนได้รับเงินเป็น 3 งวด ทำให้การวางแผนและบริหารจัดการการเงินทำได้ยาก

รายครึ่งเดือน (แบบที่รัฐบาลไทยกำลังจะทำ)

การจ่ายรายครึ่งเดือน โดยแบ่งครึ่งละเท่า ๆ กัน อาจจะมีรอบจำนวนวันในการจ่ายที่แทบจะไม่ต่างกับรายสองสัปดาห์ แต่มีข้อดีกว่า คือ คนทำงานจะได้รับเงินค่าตอบแทนตาม “วันที่” ที่กำหนดของทุก ๆ เดือน เดือนละสองครั้ง หาก “วันที่” ที่กำหนดตรงกับวันหยุด ส่วนใหญ่ก็จะจ่ายในวันทำการก่อนหน้านั้น

ข้อดี ของการจ่ายรายครึ่งเดือน คือ ช่วยขจัดความปวดหัวของคนทำงานเกี่ยวกับ “วัน” กำหนดจ่ายเงินที่ไม่มี “วันที่” ที่แน่นอนของการจ่ายรายสองสัปดาห์ และทำให้คนทำงานมีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ ขณะที่ต้นทุนขององค์กร-นายจ้าง ในการจัดการบัญชีและการจ่ายเงินเดือนใกล้เคียงกันกับรายสองสัปดาห์

ข้อเสีย คือ คำนวณค่าทำงานล่วงเวลายากกว่ารายสองสัปดาห์ เนื่องจากค่าตอบแทนในบางสัปดาห์ต้องถูกแบ่งออกเป็นสองงวด

รายเดือน

การจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงานเป็นรายเดือนตาม “วันที่” ที่กำหนด หาก “วันที่” ที่กำหนดตรงกับวันหยุด ส่วนใหญ่ก็จะจ่ายในวันทำการก่อนหน้านั้น ในเวลา 1 ปี จะมีกำหนดจ่ายเพียง 12 ครั้ง เป็นรูปแบบที่มีต้นทุนกรจัดการต่ำที่สุด และเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด สำหรับองค์กรในการที่จะจัดการภาษีและหักเงินสมทบอื่น ๆ

ข้อเสีย คือ การจ่ายเงินค่าจ้างรายเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างความตึงเครียดทางการเงินให้กับคนทำงาน ในการที่ต้องพยายามดิ้นรนจัดการการเงินในระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีรายได้น้อย

ในทวีป-ภูมิภาคต่าง ๆ เลือกจ่าย “ค่าจ้าง” แบบไหน

คลาวด์เพลย์ ยังให้ข้อมูลน่าสนใจอีกว่า ความถี่ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงานของประเทศต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ

ความถี่ในการจ่ายเงิน ค่าจ้าง อาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค กล่าวคือ ในภูมิภาคหนึ่ง ๆ และในประเทศหนึ่ง ๆ อาจมีรูปแบบการจ่ายค่าจ้างที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ – ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร และขึ้นอยู่กับว่าสถานประกอบการนั้น ๆ อยู่ในภาคธุรกิจใด

อย่างไรก็ตาม สามารถสังเกตได้ว่า มีรูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้างที่ได้รับความนิยมในแต่ละภูมิภาค ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งในแต่ละประเทศ แต่ละสถานประกอบการ อาจจะเลือกรูปแบบตรงกันด้วยเหตุผลเดียวกันหรือเหตุผลที่ต่างกันก็ได้

ทวีปอเมริกา

สหรัฐอเมริกา กฎหมายการจ้างงานค่อนข้างผ่อนคลาย ทำให้มีความแตกต่างหลากหลายของความถี่และกฎเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนในรัฐต่าง ๆ โดย “รายสองสัปดาห์” เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดทั่วประเทศ

ทำนองเดียวกัน กฎระเบียบในแคนาดาอนุญาตให้นายจ้างเลือกความถี่ในการจ่ายค่าจ้างได้ ตราบใดที่เป็นไปตามกำหนดเวลาและจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม ในอเมริกาใต้มีแนวโน้มที่จะแตกต่างออกไป อย่างในบราซิล กฎหมายกำหนดให้คนทำงานจะต้องได้รับค่าจ้างอย่างน้อยเดือนละครั้ง (ซึ่งหมายความว่าจะจ่ายถี่กว่านั้นก็ได้) และกำหนดให้ต้องได้รับโบนัสเป็นเดือนที่ 13 ในช่วงสิ้นปีของแต่ละปี

ทวีปยุโรป-ภูมิภาคตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกา

ทวีปยุโรป มีความหลากหลายของรูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้าง อย่างในเบลเยียม คนทำงานออฟฟิศจะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และคนทำงานใช้แรงงาน (ไม่ใช่งานออฟฟิศ) ได้รับค่าจ้างรายครึ่งเดือนเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ มีทั้งการจ่ายรายครึ่งเดือนและถี่กว่านั้น อาจจะเป็นรายสองสัปดาห์หรือรายสัปดาห์ก็ได้

ฝรั่งเศส จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนโดยจ่ายในวันทำการสุดท้ายของเดือน และมีธรรมเนียมจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ซึ่งโดยทั่วไปจะจ่ายตอนสิ้นปี

สหราชอาณาจักร และ กาตาร์ จะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนเฉพาะกรณีที่มีการระบุไว้ในสัญญาจ้างงานเท่านั้น ถ้าไม่มีระบุเป็นพิเศษโดยทั่วไปจะจ่ายรายสองสัปดาห์

ประเทศแซมเบีย ทวีปแอฟริกา จ่ายค่าจ้างรายสัปดาห์ รายสองสัปดาห์ หรือ รายเดือน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาจ้างงาน

เอเชีย-แปซิฟิก

ประเทศในเอเชียหลายประเทศมีจ่ายค่าจ้างเป็น “รายเดือน” อย่างสม่ำเสมอ ทั้งใน อินเดีย , ฮ่องกง และจีนแผ่นดินใหญ่

แต่ใน รัสเซีย กำหนดความถี่ของการจ่ายค่าจ้างให้จ่าย “รายครึ่งเดือน” เป็นอย่างน้อย ซึ่งหมายความว่าอาจจะจ่ายรายสองสัปดาห์หรือรายสัปดาห์ก็ได้ แต่จะจ่ายเป็นรายเดือนไม่ได้ 

ส่วนการจ่ายโบนัสก็มีอยู่โดยทั่วไปในเอเชีย เช่น จีนและฮ่องกงกำหนดให้มีการจ่ายโบนัสปีละ 1 เดือน เหมือนเป็นค่าจ้างเดือนที่ 13 ขณะที่ในอินเดียกำหนดให้จ่ายโบนัสส่วนแบ่งผลกำไรให้คนทำงาน

ข้อมูลเชิงลึกการจ่าย ค่าจ้าง ในสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกามีการใช้รูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้างครบทั้ง 4 รูปแบบที่ว่ามา แต่ “ทางเลือก” ในการจ่ายอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละรัฐ

จาก 51 รัฐในสรัฐอเมริกา มีรัฐที่กำหนดความถี่ในการจ่ายเงินค่าจ้างไว้เป็น รายสัปดาห์ จำนวน 11 รัฐ, รายสองสัปดาห์ จำนวน 15 รัฐ, รายครึ่งเดือน จำนวน 33 รัฐ และรายเดือน จำนวน 23 รัฐ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ส่วนมากกำหนดความถี่ในการจ่ายค่าจ้างไว้มากกว่า 1 รูปแบบ และบางรัฐกำหนดไว้ทั้ง 4 รูปแบบให้เลือกได้

แม้ว่าข้อกำหนดของรัฐจะกำหนดไว้เป็นแบบ “รายครึ่งเดือน” มากที่สุด รองลงมาคือ รายเดือน รายสองสัปดาห์ และรายสัปดาห์ ตามลำดับ แต่สถานประกอบการในสหรัฐเลือกที่จะจ่ายเงินค่าจ้างเป็น “รายสองสัปดาห์” มากที่สุด

ข้อมูลจากการสำรวจสถิติการจ้างงาน โดยสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) สหรัฐอเมริกา ซึ่งสำรวจความเห็นสถานประกอบการกว่าแสนรายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 พบว่า ความถี่ในการจ่ายค่าจ้างที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของสถานประกอบการในสหรัฐ คือ รายสองสัปดาห์ มีสัดส่วน 43% รองลงมาคือ รายสัปดาห์ 27% รายครึ่งเดือน 19.8% และรายเดือน อยู่ในอันดับสุดท้ายที่สัดส่วน 10.3%

นอกจากนั้น การสำรวจพบว่า “ขนาดของสถานประกอบการ” มีผลต่อการเลือกความถี่ในการจ่ายค่าจ้าง โดยสถานประกอบการขนาดเล็กจะมีความหลากหลายของ “ความถี่ในการจ่ายค่าจ้าง” มาก และสัดส่วนการใช้รูปแบบความถี่ต่าง ๆ จะห่างกันน้อยกว่า กล่าวคือ ยิ่งขนาดบริษัทใหญ่ขึ้น สัดส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างเป็น “รายสองสัปดาห์” ซึ่งได้รับความนิยมที่สุดก็ยิ่งมากกว่ารูปแบบที่อยู่อันดับที่ 2 และอันดับอื่น ๆ มากขึ้น

สถานประกอบการขนาดเล็กที่สุด (มีคนทำงาน 1-9 คน) จ่ายค่าจ้างรายสองสัปดาห์ 39% รายสัปดาห์ 24.1% รายครึ่งเดือน 22.5% รายเดือน 14.5%

สถานประกอบการขนาดใหญ่ที่สุด (มีคนทำงานมากกว่า 1,000 คนขึ้นไป) จ่ายค่าจ้างรายสองสัปดาห์ 66.6% รายสัปดาห์ 26.3% รายครึ่งเดือน 5.6% และรายเดือน 1.5%

อุตสาหกรรมที่ ค่าจ้างต่ำกว่า มีแนวโน้มจะจ่าย ค่าจ้างถี่กว่า

ข้อค้นพบสำคัญที่พบในการค้นคว้า-รวบรวมข้อมูลเรื่องความถี่ในการจ่ายค่าจ้าง คือ ความแตกต่างของอุตสหกรรมมีส่วนอย่างมากต่อการรูปแบบความถี่ในการจ่ายค่าจ้างของสถานประกอบการ (กรณีที่กฎหมายให้ทางเลือก) ซึ่งพบว่า ในอุตสาหกรรมที่ค่าจ้างต่ำจะจ่ายค่าจ้างถี่กว่า โดยนิยมจ่ายเป็นรายสัปดาห์และรายสองสัปดาห์มากกว่าการจ่ายเป็นรายเดือน

ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) สหรัฐอเมริกา พบว่า ภาคการก่อสร้างจ่ายเป็นรายสัปดาห์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 65.4% จ่ายรายสองสัปดาห์ 22.3% จ่ายรายครึ่งเดือน 6.5% และจ่ายรายเดือน 5.9%

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) สัดส่วนอันดับ 1 กับ 2 ใกล้เคียงกันที่สุด คือ รายสองสัปดาห์ 46.6% และรายสัปดาห์ 43.4%

ภาคการบริการการศึกษาและสุขภาพมีความต่างของสัดส่วนอันดับ 1 กับ 2 มากที่สุด คือ รายสองสัปดาห์ 63.3% รองลงมาคือรายครึ่งเดือน 18.4%

สำหรับคนทำงาน รับเงินถี่ ๆ คล่องตัวกว่า สำหรับผู้จ้าง ยิ่งจ่ายถี่ยิ่งบีบคั้น

สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐ สรุปข้อค้นพบจากการสำรวจและจัดทำข้อมูลไว้ว่า ความถี่ของการจ่ายเงินค่าจ้าง “ส่งผลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจด้านงบประมาณและการเงินของทั้งคนงานและนายจ้าง”

สำหรับคนทำงาน คนที่ได้รับค่าจ้างรายสัปดาห์ซึ่งได้รับค่าจ้างบ่อยที่สุด ก็จะสามารถตัดสินใจเรื่องการใช้จ่ายได้เร็ว อยากได้อะไรก็ตัดสินใจซื้อได้เร็วหากมีเงินเพียงพอที่จะซื้อ ในขณะที่คนที่ได้รับค่าจ้างรายเดือนอาจต้องเลื่อนการซื้อของหรือการชำระเงินบางอย่างออกไปจนกว่าจะได้รับค่าจ้าง

ในทางกลับกัน สถานประกอบการที่จ่ายเงินค่าจ้างให้คนงานเป็นรายสัปดาห์ จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการใช้จ่ายงบประมาณในระยะสั้น ซึ่งสถานประกอบการที่มีรอบการจ่ายห่างกว่าจะไม่มีข้อจำกัด หรือ มีน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น สถานประกอบการที่จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน สามารถนำเงินไปจ่ายค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ค่าแรงได้เป็นเวลานานกว่า กล่าวคือ ยิ่งรอบการจ่ายค่าจ้าง “ห่าง” เท่าไหร่ยิ่งมีเวลานำเงินไปหมุนนานเท่านั้น


ปัญหาเรื่องหนี้ หากเริ่มแก้ไข ตั้งแต่ต้น แบบถูกหลัก ปัญหามันจะจบ และไม่บานปลาย

ให้เรา Antonio Attorney ดูแลคุณ คุณเพียง เอาเวลาไปทำงาน หรือ  ทำธุรกิจ ของคุณ ต่อไป อย่าเสียเวลา เสียสมาธิ หรือปวดหัว วุ่นวาย จากการเตรียมเอกสาร อย่ามัวแต่กังวล กับปัญหาต่างๆ ให้เราดำเนินการแทนคุณครับ (บริการในรูปแบบบริษัท เรามีทีมงานด้านการเงิน และกฎหมาย เพื่อเป็นทีมดำเนินการแทนคุณ)

ให้เราแก้ปัญหาหนี้ แนะนำแนวทางการแก้หนี้ แนะนำแนวทางการเจรจาหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เรามีบริการ ในหลากหลายรูปแบบครับ

หรือ ท่านที่ต้องการกู้เงิน ต้องการวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ เพื่อประกอบธุรกิจ เราก็มีบริการ จัดหาวงเงินกู้ ขอสินเชื่อ กับ สถาบันการเงินให้กับคุณ

ผม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อันโตนิโอ แอททอร์นี จำกัด ผมมีประสบการณ์ ในการเป็น ผู้วิเคราะห์สินเชื่อ จากธนาคาร ชั้นนำหลายธนาคาร และผมยังเป็นที่ปรึกษาการเงิน Financial Advisor ( F. A.) ให้กับ ธุรกิจ กิจการ SME ตั้แต่รายกลาง ไปจนถึงรายใหญ่

ผมมีประสบการณ์ มายาวนาน ผมผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ต้มยำกุ้ง วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 วิกฤตเศรษฐกิจ แฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 จนมาถึง วิกฤตโควิด ในครั้งนี้ ผมมีประสบกาณ์ ในฐานะ ที่ปรึกษาการเงิน มาอย่างยาวนาน กว่า 20 ปี

อะไรบ้าง ที่คุณจะได้จากผม

1. เทคนิค และวิธีการเจรจาต่อรอง แก้ไขหนี้ และนำเสนอข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้การแก้หนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จลุล่วง

2. หากกรณี ขอสินเชื่อ ผมจะดูและแนะนำ การเตรียมข้อมูล และเอกสาร เพื่อให้คุณยื่นกู้ ขอสินเชื่อ ให้ผ่าน โดยผมจะแนะนำเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ดูแลอนุมัติสินเชื่อ ให้กับคุณ ในการยื่นเรื่องที่ง่ายขึ้น

3. ในระหว่าง ที่ดำเนินการดังกล่าว ทั้งแก้หนี้ หรือ ขอสินเชื่อ ติดต่อ สอบถาม ผมพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับคุณ โดยต่อเนื่องครับ

อัตราค่าบริการ มี 2 แบบ

1. แบบปรึกษา ผ่านโทรศัพท์เท่านั้น ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) จำนวน 2,500 บาท

2. แบบพบเจอตัว (Private Session) 1 ครั้ง หลังจากนั้น ปรึกษาโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง (ตลอดชีพ) ค่าบริการ 7,000 บาท

ชื่อบัญชี Yuttana Kosakul

KBank 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0

หลังจากโอนเงินแล้ว ส่งสลิปมาที่ LineID : @antonio หรือ email : antonioattorney@gmail.com แล้วแจ้ง ชื่อ และเบอร์ติดต่อ แล้ว ผมจะรีบติดต่อเพื่อนัดหมายครับ

อย่าปล่อยให้ปัญหาหนี้เสีย NPL ของคุณลุกลาม จนต้องถึงขั้น ดำเนินคดี ฟ้องร้อง ขึ้นศาล หรือ บางกรณี จนถึงขั้น บังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้มืออาชีพอย่างผม ได้เป็นที่ปรึกษา เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้ ของคุณ ปัญหาหนี้ของ ธุรกิจ บริษัท กิจการของคุณ ให้รอด และสามารถกลับมาตั้งต้น ทำธุรกิจ ให้เติบโต มันคง ได้ต่อไปนะครับ

———————————————————

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ

https://www.youtube.com/channel/UCcADQXY_tZ4vHBfWCK0lTSw

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงิน สินเชื่อธุรกิจ แก้หนี้ เป็นการส่วนตัว

คลิกเลยครับ https://bit.ly/3lcHLXe

หรือ ที่ปรึกษาการเงิน แบบผู้ประกอบการ SME คลิกเลยครับ https://bit.ly/38DOx3j

ติดต่อ ผมที่ LineID : @antonio  /  065 626 4545

หรือ email : antonioattorney@gmail.com

และติดตามผมต่อได้ที่ https://www.facebook.com/AntonioAttorney.Company/

และที่ https://antonioattorney.com/

Leave a Reply