ซื้อรถแล้วผ่อนไม่ไหว ทำอย่างไรดี?

เราไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกะทันหันในอนาคตได้ หากวันหนึ่งสถานการณ์ทางการเงินทรุด ไม่มีเงินที่จะผ่อนรถจะทำอย่างไรได้บ้าง จะขายรถที่ยังผ่อนไม่หมด หรือ คืนรถกับไฟแนนซ์ ทำได้ไหม?

กรณีผู้เช่าซื้อรถยนต์ ในระหว่างการผ่อนชำระ หากมีความประสงค์ จะไม่ผ่อนต่อ ด้วยเหตุผลใดๆ ผู้เช่าซื้อมีทางเลือก ดังนี้

1. ขายดาวน์ ผู้เช่าซื้อเดิมขายให้ผู้สนใจซื้อรถต่อ โดยเปลี่ยนชื่อในสัญญา หรือบางแห่งอาจไม่ยอมให้เปลี่ยนสัญญาในการเปลี่ยนสัญญา ต้องพิจารณาคุณสมบัติผู้เช่าซื้อคนใหม่ โดยอาจต้องชำระค่างวดล่วงหน้า 1-2 งวด และอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน หรือต้องเปลี่ยนผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ด้วยเงื่อนไขของแต่ละไฟแนนซ์

แต่ในกรณีไม่เปลี่ยนสัญญา ผู้เช่าซื้อเดิมเป็นผู้ครอบครองรถอยู่ คนซื้อใหม่เป็นผู้ใช้ และคนใช้รถเป็นผู้ชำระค่างวด ความเสี่ยงจะขึ้นกับเจ้าของรถ หากคนใช้ไม่ชำระตามเงื่อนไข จะเสียเครดิตทางการเงิน และ กรณีคนใช้ชำระหนี้ตามปกติหมดแล้ว เจ้าของรถต้องทำเรื่องโอน 2 ต่อให้กับคนใช้รถด้วย

2. ขายรถ ผู้ขายต้องตรวจสอบยอดคงค้างกับไฟแนนซ์ และเช็ดราคาตลาดของรถรุ่นนั้น การขายรถ มี 3 แนวทาง คือ

   • ขายเอง ราคาที่ขายขึ้นกับ ราคากลางและราคาตลาด พิจารณาตามความนิยม ยี่ห้อ รุ่น ปี และสภาพรถ

   • ขายผ่านเต็นท์รถ โดยมากมักจะได้ราคาที่ต่ำกว่าขายเอง มีข้อควรระวัง คือ เอกสารโอนลอย และ เต็นท์รถไม่ได้ปิดหนี้ให้จริงหรือมีส่วนต่างค้างชำระ

     หรือ ฝากเต็นท์ขาย ในราคาที่ต้องการ ซึ่งคนขายจะได้ใช้รถ อาจไม่ได้ตามราคาขายที่ต้องการ และอาจมีความเสี่ยงรถชำรุด สูญหายได้

3. การคืนรถ การคืนรถแบบไม่ต้องจ่ายค่าส่วนต่างตามกฎหมาย ดังนี้

    (1) ผู้เช่าซื้อต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นขอคืนรถกับผู้ให้เช่าซื้อ โดยไม่มียอดค้างชำระใดๆ

    (2) ผู้ให้เช่าซื้อติดต่อตกลง และนัดหมายรับคืนรถ กับผู้ให้เช่าซื้อ อาจเป็นที่ตั้งสำนักงานของไฟแนนซ์ หรือสถานที่อื่นๆ

    (3) ไม่ปรากฏว่า ขณะที่ผู้ให้เช่าซื้อรับรถคืนแล้ว ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อภายหลัง

ทั้งนี้ ถึงแม้มีการคืนรถแล้ว ยังปรากฏว่า ถูกไฟแนนซ์ ฟ้องร้อง และในบูโร อาจมีประวัติการชำระล่าช้า ผู้เช่าซื้อต้องไปชี้แจงที่ศาล และเจรจากับไฟแนนซ์ให้เรียบร้อย เพราะถึงมีกฎหมายรองรับการคืนรถ แต่ไฟแนนซ์อาจระบุเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อที่เป็นประโยชน์กับไฟแนนซ์มากกว่าผู้เช่าซื้อได้

4. ปล่อยให้ถูกยึดรถ โดยทั่วไปอาจจะปล่อยให้ยึดรถคืนในกรณีค้างชำระ 1 งวดขึ้นไป (ถ้าผู้เช่าซื้อประสงค์จะคืน)  หรือหลังถูกยกเลิกสัญญา  รถที่ถูกยึดไปจะนำขายทอดตลาด และลูกค้าต้องชำระส่วนต่างราคา (ถ้ามี)  ทั้งนี้ส่วนต่างราคามากน้อยขึ้นกับ ส่วนต่างเงินกู้-เงินดาวน์ ราคาขายทอดตลาด ค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าติดตามทวงถาม เบี้ยปรับค้างชำระ ดอกเบี้ย-ค่างวดค้าง

และกรณีถูกบอกเลิกสัญญา แล้วไม่นำรถไปคืนไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ไฟแนนซ์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินของผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำประกันได้  หรือการอายัดเงินเดือน ผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำประกันได้

ดังนั้น ก่อนการจะเลือกแนวทางการไม่ผ่อนชำระ มีความจำเป็นต้องคำนึง ผลดี-ผลเสีย ของแต่ละแนวทาง ซึ่งส่วนมากผู้เช่าซื้อจะเสียเปรียบมากกว่า และในอีกด้านหนึ่ง ไฟแนนซ์จะมีการปรับเงื่อนไขมากขึ้น เพือที่จะลดความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อ อาทิ การตรวจสอบประวัติทางการเงิน การพิจารณาอาชีพ รายได้ เงินดาวน์ และผู้ค้ำประกัน มาประกอบการพิจารณาด้วยเช่นกัน

วิธีประเมินว่าควรคืนรถยนต์หรือไม่ ?

1. ดูค่าใช้จ่ายแวดล้อมที่เกี่ยวของ

เพราะรถยนต์มีค่าใช้จ่ายรอบตัวที่เราต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน

– ค่าทางด่วน

– ค่าจอดรถ

– ค่าน้ำมัน

– ค่าประกันรายปี

– ค่าตรวจเช็กสภาพรายปี

2. อย่ามองรายได้ในอนาคต ให้มองรายจ่ายปัจจุบัน

เพราะรายได้ในอนาคตนั้นไม่แน่นอน แต่รายจ่ายนั้นรออยู่แล้วๆ ต้องประเมินรายจ่ายในแต่ละเดือนให้ดี ถ้ามองดูแล้วในอีก 3 เดือน เราไม่สามารถจ่ายได้ เพราะตกงาน หรือเจ็บป่วยทำให้ขาดรายได้ ให้ติดต่อเพื่อขอคืนรถให้เร็วที่สุด

3. มองถึงความจำเป็นจริงๆ

ให้ถามตัวเองว่าเรามีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้รถยนต์เพื่อเดินทาง ถ้าไม่มีความจำเป็น เพราะในแต่ละเดือนมีโอกาสใช้รถแค่ไม่กี่วัน ลองเปลี่ยนเป็นวิธีย้ายไปอยู่ใกล้ๆ ที่ทำงานได้หรือไม่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไป

4. ถ้าประเมินแล้วไม่ไหวให้รีบคืนรถ

หลังจากดูทิศทางการเงินในอนาคตแล้ว ไม่สามารถจ่ายไหว ให้เราคืนรถไปได้เลย อย่ารอให้ถึงขั้นมายึดรถไป เพราะจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต


สำหรับเจ้าของกิจการ ที่มีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ธนาคารเริ่มคุยยากขึ้น เจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแล ไม่เหมือนเดิม มาถึงตรงนี้ Antonio Attorney ทีมงานเรา พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา รับหน้าที่ เจรจา แก้หนี้ ให้กับธุรกิจของคุณนะครับ สนใจติดต่อสอบถาม พูดคุยกับผมได้ ครับ 081 869 0878

หรือ ให้ผมเป็นที่ปรึกษา แบบส่วนตัว

แบบที่ 1 พูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง คุยกันได้ตลอดชีพ ค่าบริการ 2,500 บาท ตลอดชีพ

แบบที่ 2 สามารถเจอผมได้ 1 ครั้ง คุณอาจจะพาครอบครัวหรือทีมงาน เราพูดคุยกับผมได้ ประชุมร่วมกันครับ วันนี้ขอจำกัดเวลาประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมงนะครับ หลังจากนั้นคุณสามารถโทรศัพท์พูดคุยกับผมได้ไม่จำกัดครั้ง แล้วคุยตลอดชีพได้เช่นเดียวกันครับ แบบที่ 2 ราคาค่าบริการ 7,000 บาทครับ

KBANK 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0

เมื่อโอนเงินแล้ว ส่งสลิปโอนเงินมาที่ LineID : @antonio ส่งสลิปมาแล้ว ไม่ต้องทักนะครับ เดี๋ยวข้อความมันจะเลื่อน ผมจะหาไม่เจอว่าใครโอนเงินมา เนื่องจาก ผมมีคนไลน์เข้ามาจำนวนมาก ส่งสลิปมาแล้วรอ ผมจะรีบติดต่อกลับนะครับ

————————————————————————————————————————

แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้

ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonio

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

Leave a Reply