ขายฝาก คืออะไร
ขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์(ความเป็นเจ้าของ) ในทรัพย์สิน จะกลายเป็นของผู้ซื้อฝากทันที เหมือนสัญญาซื้อขายทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่ ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้น คืนไปได้ตามสัญญาที่ได้ทำกันไว้
ยุคสมัยข้าวยาก หมากแพงเช่นนี้ การแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้กลายเป็นเงินก้อน เงินทุน กำลังเป็นช่องทางยอดนิยมของการหาทางออก เหตุนี้รูปแบบของการ “ขายฝาก” จึงเกิดขึ้น
สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
*** สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ***
ทำไมต้อง ขายฝาก ?
ที่ผู้คนเลือกขายฝากทรัพย์สินกันนั้น เพราะมีความจำเป็นทางการเงิน ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน แล้วผู้ให้กู้ มักเรียกให้นำทรัพย์สินหรือบุคคลมาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วย เช่นการให้นำทรัพย์สินมาจำนองหรือจำนำ และหาบุคคลมาค้ำประกัน แต่บ่อยครั้งที่หลักประกันเหล่านี้ ไม่สามารถช่วยรับรองได้ว่า ผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ ผู้ให้กู้ส่วนใหญ่จะสบายใจกว่า ถ้าผู้ที่ต้องการเงินนำทรัพย์สินมาขายฝาก (ค้ำประกันวงเงิน) แทน
จุดเด่น ของ การขายฝาก
ก็คือ สิทธ์การถือครอง ที่เราสามารถไถ่ถอนกลับมาเป็นของเราได้(ในระยะเวลากำหนดของสัญญา) แม้ว่าจะขายฝากไปแล้ว เมื่อเทียบกับการขายขาดที่เป็นการเปลี่ยนผู้ถือครองถาวร ที่สำคัญคือวงเงินที่เหมาะสม ทำให้หาผู้ซื้อฝากได้ง่าย และไม่ต้องใช้จ่ายในการทำโฆษณา ลงประกาศขาย
ขั้นตอนของสัญญาขายฝาก
1. ประกาศขายฝาก ผู้ต้องการขายฝาก ระบุระยะเวลาสัญญาที่จะไถ่ถอน เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจกับผู้ซื้อฝาก
2. แลกเปลี่ยน ผู้ขายฝากจะได้รับเงินสดทันทีหลังทำสัญญาที่กรมที่ดิน ส่วนผู้ซื้อฝากจะได้รับโฉนดค้ำประกัน
3. เมื่อครบกำหนดสัญญา ผู้ขายฝากจะต้องนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินคืน+ดอกเบี้ย ส่วนผู้ซื้อฝากก็จะคืนโฉนด เป็นอันเรียบร้อย
ในกรณีที่ครบกำหนดสัญญาแล้วผู้ขายฝากไม่สามารถนำเงินมาไถ่ถอนได้ สามารถต่อสัญญาขายฝากได้ (ขึ้นอยู่กับการทำข้อตกลงกันระหว่างผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝาก)
*** แต่ถ้าหากไม่ต่อสัญญาแล้วไม่ไถ่ถอน ทางผู้ซื้อฝากก็มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ชิ้นนั้นทันที ***
ระยะเวลาในการขายฝาก
– สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่จดทะเบียน ซึ่งผู้ขายฝากจะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินกลับคืนต้องขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 10 ปี และถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 3 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย
– สัญญาขายฝากจะต้องมีกำหนดระยะเวลาว่าจะไถ่คืนกันเมื่อใด แต่จะกำหนดเวลาการไถ่คืนกันเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนหรือกำหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านั้นให้ลดลงมาเป็น 10 ปี และ 3 ปี ตามประเภททรัพย์
– การขยายกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้แต่รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก และจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของ ผู้รับซื้อฝาก ซึ่งถ้าทรัพย์สินที่ขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่จากการขายฝากจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้
– ผลของการใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจะตกเป็นของผู้ขายฝากตั้งแต่เวลาที่ผู้ขายฝากชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้นผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนโดยปลอดจากสิทธิใดๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิม หรือทายาทหรือผู้รับโอนจากผู้ซื้อเดิมก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่ ยกเว้นแต่เป็นการเช่าทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างขายฝากซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และการเช่านั้นไม่ทำให้ผู้ขายฝากหรือผู้ไถ่เสียหาย กำหนดเวลาเช่ามีเหลืออยู่เพียงใดให้คงสมบูรณ์เพียงนั้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปี
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่่ใช้สำหรับขายฝาก
1. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย
สามารถแบ่งแยกย่อย ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์แนวราบ เช่น โครงการที่อยู่อาศัย ประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม บ้านแฝด และคลัสเตอร์โฮมที่เป็นบ้านระดับ Super Luxury ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่มาก ๆ ระดับราคาประมาณ 30 – 100 ล้านขึ้นไป ทำเลก็จะอยู่ในโครงการใหญ่ ๆ หรือไม่ก็อยู่ใจกลางเมือง อสังหาริมทรัพย์แนวสูง เช่น พวก คอนโดมิเนียม โรงแรม อพาร์ตเม้นต์
2. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์
เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้สำหรับใช้ในธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการ ร้านอาหารเช่น อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า โรงแรม ตลาดสด ฯลฯ
3. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตร
คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จัดสรรที่ดินเพื่อทำการเกษตรเป็นหลัก เช่น ที่นา ไร่ สวน หรือที่ดินที่จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะ
4. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม
ได้แก่ โรงงาน โกดัง คลังสินค้า หรือ ที่ดินเปล่าจากนิคมอุตสาหกรรมหรือจากสวนอุตสาหกรรม
5. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน
ได้แก่ โรงแรมตากอากาศ รีสอร์ต อาคารชุดบ้านพักตากอากาศ ฯลฯ
ข้อดีของการขายฝาก
1. การขายฝากที่ดินจะทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ณ สำนักงานที่ดิน จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
2. อนุมัติเร็วกว่าการขอสินเชื่อกับธนาคาร
3. ได้วงเงินดีกว่าการจำนอง
4. การทำสัญญาฝากขายที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิส เครดิตทางการเงิน หรือ Statement
5. หากครบกำหนดแล้วผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่คืนที่ดินได้ ผู้ขายฝากอาจทำสัญญาขยายระยะเวลาไถ่ออกไป ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
6. ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าพ้นกำหนดไถ่ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นประการอื่น
สำหรับเจ้าของกิจการ ที่มีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ธนาคารเริ่มคุยยากขึ้น เจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแล ไม่เหมือนเดิม มาถึงตรงนี้ Antonio Attorney ทีมงานเรา พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา รับหน้าที่ เจรจา แก้หนี้ ให้กับธุรกิจของคุณนะครับ สนใจติดต่อสอบถาม พูดคุยกับผมได้ ครับ 081 869 0878
หรือ ให้ผมเป็นที่ปรึกษา แบบส่วนตัว
แบบที่ 1 พูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง คุยกันได้ตลอดชีพ ค่าบริการ 2,000 บาท ตลอดชีพ
แบบที่ 2 สามารถเจอผมได้ 1 ครั้ง คุณอาจจะพาครอบครัวหรือทีมงาน เราพูดคุยกับผมได้ ประชุมร่วมกันครับ วันนี้ขอจำกัดเวลาประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมงนะครับ หลังจากนั้นคุณสามารถโทรศัพท์พูดคุยกับผมได้ไม่จำกัดครั้ง แล้วคุยตลอดชีพได้เช่นเดียวกันครับ แบบที่ 2 ราคาค่าบริการ 5,000 บาทครับ
KBANK 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0
เมื่อโอนเงินแล้ว ส่งสลิปโอนเงินมาที่ LineID : @antonio ส่งสลิปมาแล้ว ไม่ต้องทักนะครับ เดี๋ยวข้อความมันจะเลื่อน ผมจะหาไม่เจอว่าใครโอนเงินมา เนื่องจาก ผมมีคนไลน์เข้ามาจำนวนมาก ส่งสลิปมาแล้วรอ ผมจะรีบติดต่อกลับนะครับ
————————————————————————————————————————
แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio
ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube
และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company
สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ
ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila
ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonio
ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME
