หนี้ประเทศก็เยอะ หนี้ประชาชนก็มาก ใครจะไปก่อนกัน

หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน สร้างปัญหาให้กับประเทศไทย และประชาชนคนไทย หลายคนกังวลว่า หากหนี้ทั้ง 2 นี้ มันยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เราคนไทยจะทำอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย และคนไทยบ้าง

ตอนนี้ หนี้สาธารณะต่อ GDP เท่ากับ 58.88% ซึ่งกรอบวินัยการคลังตั้งเพดานไว้ที่ 60% ใกล้จะชนกรอบเพดานแล้วครับ ส่วนหนี้ครัวเรือน ตอนนี้อยู่ที่ 90.5% ต่อ GDP สูงที่สุดในรอบ 18 ปี

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าหนี้ 2 ตัวนี้ มันยังขยับพุ่งไม่หยุด แต่ผมจะให้ข้อสังเกตไว้อย่างนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือน หรือหนี้สาธารณะ ตัวเลขอ้างอิงเอามาเทียบกับ GDP ทั้ง 2 ตัว เท่ากับว่า GDP เป็นตัวหาร ถ้า GDP น้อยหรือติดลบหนี้ทั้งสองก็จะมีสัดส่วนมากขึ้น แต่ถ้า GDP + เยอะสัดส่วนหนี้ทั้ง 2 มันก็จะลดลง ฉะนั้นถ้าหนี้ไม่ลด แต่ GDP เพิ่ม หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน มันก็จะลดลงเองครับ

หนี้สาธารณะ คือหนี้อะไร และมีหนี้อะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบของหนี้สาธารณะ

“หนี้สาธารณะ” หมายถึง “การกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของประเทศกําลังพัฒนา แต่เดิมเรามักมีความรู้สึกเกี่ยวกับการก่อหนี้ยืมสินไปในทางที่ไม่ดี ครัวเรือนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวแสดงว่าฐานะการเงินไม่ดี สังคมอาจไม่ยอมรับนับถือประเทศใดมีหนี้สินอยู่มากแสดงว่าฐานะทางเศรษฐกิจไม่มั่นคงและอาจจะล้มละลายได้ ปัจจุบันแนวความคิดเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไป ผู้ที่ดําเนินธุรกิจเพียงเท่าที่มีทุนธุรกิจอาจไม่เจริญก้าวหน้า แต่ถ้ากู้เงินธนาคารมาลงทุนขยายกิจการตามโครงการอย่างรอบคอบแล้ว กิจการก็อาจจะเจริญก้าวหน้าจนสามารถชําระหนี้คืนและขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเทศชาติก็ทํานองเดียวกัน รัฐบาลอาจมีความจําเป็นต้องใช้จ่ายเงิน เพื่อพัฒนาประเทศลงทุนสร้างถนนหนทางไฟฟ้า ประปา และพลังงานต่าง ๆ

เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนขยายการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ทําให้ประชาชนมีงานทํา มีรายได้สูงขึ้นเมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาล ก็จะสามารถเก็บภาษีเงินได้จากประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อชําระหนี้คืน รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และกําลังพัฒนาต่างก็มีหนี้สาธารณะอยู่เป็นจํานวนไม่น้อย หนี้สาธารณะนี้เราจะมองได้ทั้ง 2 ด้าน คือ เมื่อรัฐบาลยืมเงินเข้ามาก็จัดเป็นรายรับของรัฐบาลทางหนึ่ง และเมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระรัฐบาลก็ต้องตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายเพื่อชําระหนี้การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาลจึงมีผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ “

หนี้สาธารณะ ประกอบด้วยหนี้ อะไรบ้าง
1. หนี้รัฐบาล คิดเป็น 87.94%
2. หนี้รัฐวิสหกิจ 8.75%
3. หนี้ค้ำประกันให้รัฐวิสหกิจ 3.23%
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 0.08%

ที่ผ่านมา ประเทศไทยตั้งแต่กู้หนี้มา จ่ายหนี้ตรงตลอด ประเทศไทยเป็นลูกหนี้ที่ดี หนี้ต่างประเทศไม่เคยผิดนัดชำระ หนี้ในประเทศก็ไม่เคยผิดนัดชำระ รวมทั้งหนี้รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลดูแลอยู่ก็ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ แล้วส่วนใหญ่เพื่อนๆจะได้ยินคำถามหลายคำถาม เวลาอภิปรายเรื่องงบประมาณนะครับพวก สส. นักการเมืองมักจะพูดบ่อยๆว่า การที่ประเทศเราไปกู้หนี้มาก็จะเป็นภาระให้กับประชาชนต้องจ่ายหนี้ในอนาคต

เรื่องนี้มีคำตอบว่าแบบนี้ล่ะครับ แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าผมเองไม่ใช่รัฐบาล นะครับ แต่จะให้ข้อมูลเป็นกลางๆแบบนี้นะครับ เขาบอกว่าภาระหนี้เนี่ยไม่ได้เป็นภาระของประชาชนโดยตรง หนี้สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการดูแลสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ

หนี้สาธารณะก็คือโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่รัฐบาลลงทุนนะครับ เช่น ระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมต่างๆนะครับ ถนนหนทาง น้ำ ไฟ นะครับ สิ่งเหล่านี้รัฐต้องเอาเงินไปลงทุนประชาชนก็จะได้ประโยชน์ แต่สิ่งที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งก็คือได้ใช้บริการต่างๆ

คำถามว่ารัฐบาลเอาเงินที่ไหนมาชำระหนี้สาธารณะ คำตอบก็คือ เงินภาษีจากพี่น้องประชาชนนั่นแหละ แต่ว่ารัฐบาลเขาก็จะบอกว่าเขาก็พยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างนะครับ ให้พี่น้องประชาชน ได้ใช้ได้อยู่ได้กินได้ทำธุรกิจ สุดท้ายนะครับ ก็จะต้องเสียภาษีเพื่อมาจ่ายภาษีให้กับรัฐ รัฐก็จะนำภาษีเหล่านั้นไปใช้หนี้สาธารณะมันก็จะหมุนเวียนวนลูปเป็นแบบนี้ หลายคนก็จะบอกว่าถ้าเกิดกู้เงินมาเพื่อพัฒนาประเทศอันนี้ยอมรับได้แต่ถ้ากู้เงินมาเพื่อโกงกิน อันนี้ประชาชนยอมรับไม่ได้ รวมถึงผมเองด้วย เพราะเราเสียดายภาษีที่เราต้องเสีย

วันนี้มีคำถามว่าตอนนี้นะครับหนี้สาธารณะเกือบ 60% เกือบถึงกรอบวินัยการคลังที่วางกรอบเอาไว้ อันนี้เป็นกฎหมายนะครับ ถ้าเกิดจะต้องกู้หนี้เพื่อเกินกรอบวินัยการคลังที่ 60% ผมเข้าใจเองนะครับ ผมพยายามหาข้อมูลแล้วผมไม่แน่ใจว่าจะต้องขออนุญาต ไม่แน่ใจต้องผ่านสภาหรือเปล่านะครับถึงจะขออนุญาตกู้ได้เกิน 60% ของ GDP ตามกรอบวินัยการคลัง

ที่นี่เรามาดูกันว่า หนี้สาธารณะของประเทศอื่นๆ เขาเป็นกันอย่างไรบ้าง ย้ำนะครับตอนนี้หนี้สาธารณะ ของไทยอยู่ที่ 58.8% ต่อ GDP นะครับ

1. ญี่ปุ่น 234.18%
2. เวเนซุเอลา 214.45%
3. ซูดาน 177.87%
4. กรีซ 174.15%
5. เลบานอน 157.81%
6. อิตาลี 133.43%
7. ประเทศเอริเทรีย 127.34%
8. ประเทศสาธารณรัฐกาบูเวร์ดี 125.29%
9. ประเทศโมซัมบิก 124.46%
10. โปรตุเกส 119.46%

จะเห็นได้ ใน 10 ประเทศนี้เกินร้อยเปอร์เซ็นต์กันไปหมดแล้ว แต่ว่าตอนนี้ประเทศไทยอยู่ที่ 58.8% นะครับ

ที่นี้มาทำความรู้จัก หนี้ครัวเรือน บ้างครับ ต้องบอกก่อนนะครับ หนี้ครัวเรือน มีหนี้รวมกันหลายประเภทนะครับ แต่หนี้นอกระบบนี้ ไม่ได้อยู่ในหนี้ครัวเรือนนะครับ

ตอนนี้หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 90.5% ต่อ GDP หนี้ครัวเรือนประกอบไปด้วยนะครับ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้บ้าน หนี้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สินเชื่อบ้านแลกเงิน และก็หนี้ประกอบอาชีพอื่นๆเป็นรายย่อย ทั้งหมดทั้งมวลนี้นะครับ คือ หนี้ครัวเรือน

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ตัวเลขนะครับ ปี 64 เดือนมิถุนายน

1. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล 45.3%เกือบครึ่ง
2. หนี้เช่าซื้อรถยนต์ 26.3%
3. หนี้บ้านหรือสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัยเนี่ยแค่ 14.3%
4. หนี้อื่นๆ ส่วนที่เหลือ

สัดส่วนประเภทหนี้ของคนไทย มันผิดเพี้ยนครับ ประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่เนี่ย หนี้บ้านจะมีสัดส่วน เกือบครึ่ง แต่ของคนไทยนะครับ หนี้เกือบครึ่งกลายเป็นหนี้บัตรเครดิตแล้วก็สินเชื่อบุคคล คือพูดง่ายๆคือมันเป็นหนี้ที่มันไม่ได้ก่อให้เกิดพลวัตทางเศรษฐกิจเลยมันก็จะเป็นก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจบ้าง ก็คือจับจ่ายใช้สอย แต่ว่ามันเป็นหนี้เพื่อการบริโภคอุปโภคมากกว่า มันไม่ใช่หนี้ที่จีรังยั่งยืน แล้วมันไม่ได้เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจสักเท่าไหร่ แต่มันจะทำให้กลายเป็นมะเร็งร้ายและกลับมากัดกร่อนกัดกินลูกหนี้ซะมากกว่า

ผมพยายามหาข้อมูลหนี้ครัวเรือนต่างประเทศ เจออยู่ประเทศหนึ่งน่าสนใจ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่มีความสวยงามเงียบสงบน่าอยู่ จัดว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศนึงนะครับ เชื่อไหมครับว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เนี่ยมีหนี้คคัวเรือน ต่อ GDP นะครับอยู่ที่นะครับ 133.6% คือทะลุร้อยเปอร์เซ็นต์ไปเรียบร้อยนะ แต่เขาบอกว่าหนี้ส่วนใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์0หนี้ครัวเรือนเนี่ยนะครับ 75-80% เนี่ยเป็นหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยก็คือกู้ซื้อบ้านนั่นเอง และมูลค่าทรัพย์สินเมื่อเทียบกับหนี้ของประชาชนของสวิสเนี่ย ส่วนใหญ่จะมีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินเกือบทุกคนนะครับ

แล้วก็มีข้อมูลมาฝากนะครับแต่ว่าที่เป็นข้อมูลเก่านะครับหนี้ครัวเรือน อันดับ 1 อันนี้ เฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและก็คือ ออสเตรเลียนะครับ รองลงมาก็คือเกาหลีใต้นะครับแล้วก็ลองมาคือประเทศไทย แต่ผมไม่ขอพูดจำนวนตัวเลข เพราะว่ามันเป็นข้อมูลเก่าเมื่อประมาณปี 59-60 แต่ว่าสัดส่วนลำดับมันก็น่าจะประมาณอย่างนี้แหละนะครับว่าเกาหลีเป็นหนี้ครัวเรือน มากกว่าไทย

กล่าวโดยสรุป หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน มันจะต้องไปด้วยกันเพราะว่าอะไร หนี้สาธารณะเนี่ยคนที่ใช้หนี้ก็คือรัฐบาลจะต้องเก็บเงินภาษีพี่น้องประชาชนเพื่อมาจ่ายหนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะอย่างที่บอกนะครับว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินจากต่างประเทศหรือกู้เงินในประเทศเช่นออกพันธบัตรครับ รายได้ที่จะมาใช้หนี้ก็คือการเก็บภาษี รัฐบาลกู้เงินเพื่อใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงาน สร้างสาธารณูปโภค ถนนหนทาง แล้วก็กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ประชาชนในประเทศ จับจ่ายใช้สอยสร้างเศรษฐกิจ สร้างงาน สุดท้ายธุรกิจพี่น้องประชาชนมีกำไร มีรายได้ ก็ต้องเสียภาษี ภาษีก็จะย้อนกลับมาที่รัฐบาลรัฐบาลก็จะเอาเงินเสียภาษีนั้นไปชำระหนี้สาธารณะ มันจะวนลูปกันประมาณนี้

ส่วนหนี้ครัวเรือนพี่น้องประชาชนก็ต้องรับผิดชอบตัวเองนะครับ เพราะว่าพี่น้องประชาชนเป็นหนี้อย่างที่บอก เป็นหนี้บัตรเครดิตกันซะมาก สินเชื่อบุคคล สินเชื่อ leasing ผ่อนรถอันดับ 3 ทั้งหมดเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหนี้ที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้งซ่าน แล้วก็หนี้บัตรเครดิตทั้งหลาย ผมบอกเลย เป็นหนี้ที่สร้างความเสียหายให้กับคนกู้เองนั่นแหละเพราะว่า NPL หนี้เสีย ทั้งหลายเนี่ยมันเกิดและเริ่มต้นจากหนี้บัตรเครดิต บอกเลยน่ากลัวมาก

ถ้ารัฐบาลเริ่มสร้างเศรษฐกิจให้ดีพี่น้องประชาชน เริ่มลืมตาอ้าปาก ขยับขยายในการทำธุรกิจได้ มีรายได้มีกำไร ถ้ายังเป็นหนี้อยู่ก็ต้องเอารายได้ หรือกำไรนั้นไปใช้หนี้ เอาไปใช้หนี้ไอ้เงินที่ต้องจับจ่ายใช้สอยมันก็แทบจะเหลือน้อย แทบจะไม่เหลือเลย อาจจะได้เต็มที่แค่กินอยู่ แทบจะทั้งหมดก็ต้องไปจ่ายหนี้จ่ายสิน คืนธนาคาร สุดท้ายนะครับ ถ้าภาวะหนี้สินครัวเรือน สูงมากๆเงินในระบบมันจะค่อยๆหดหายไปเรื่อยๆ แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นน่ะครับ อันนี้ผมไม่ทราบเพราะผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์

สรุปแบบไม่สรุปนะครับ ที่ผมบอกผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ เอาเป็นว่าถ้าหนี้สาธารณะของประเทศไทยผมว่าไม่น่าห่วง จะหวงก็หนี้ครัวเรือนนี้แหละ หนี้ที่ห่วงคนไทยนี่แหละครับคือหนี้ครัวเรือน ภาระหนักอึ้งผมว่าต้องตกกับแบงค์ชาติหลังจบโควิดไปแล้ว หรือยังไม่จบกำลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติต้องลงมาช่วยดูนะครับ ช่วยให้ธนาคารหรือเจ้าหนี้ทั้งหลาย ลดหย่อนผ่อนปรนให้กับลูกหนี้บ้าง ลูกหนี้จะได้ขยับขยาย หายใจออกกันบ้าง

สุดท้ายก็เอาใจช่วยพี่น้องคนไทยทุกคนนะครับ


แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

แก้หนี้

Leave a Reply