ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก จึงได้จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ดำเนินการกู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่มีนักศึกษาบางกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่ดำเนินการชำระหนี้ กยศ. จึงทำให้เกิดปัญหาการค้างช้ำระหนี้เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเหตุผลใดๆก็ตาม คณะกรรมการกองทุนฯจึงวิเคราะห์หาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อ แก้หนี้ กยศ. แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ การปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้และเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระสำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มก่อนฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ และลดปัญหาหนี้ค้างชำระของกองทุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 1. การปรับโครงสร้างหนี้ กลุ่มเป้าหมาย สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี กรณีไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมเดิมได้ โดยในการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันรายเดิมทุกรายตามสัญญากู้ยืมเงินต้องมาลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามแบบที่กองทุนกำหนด เงื่อนไข • สามารถผ่อนได้สูงสุด 30 ปี แต่ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์• กองทุนฯ จะให้ผู้กู้ยืมมาตกลงขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เงื่อนไขการผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน• กองทุนฯ จะคำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ โดยนำเงินที่ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนมาแล้วทั้งหมดมาปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยตัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามงวดครบกำหนดชำระหนี้ จนครบจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินชำระมาเท่านั้น สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้ว ถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระครบถ้วนแล้ว• จากนั้นกองทุนฯ จะนำเงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงเหลือใช้เป็นยอดหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนเบี้ยปรับคงค้างที่สะสมอยู่ในระบบจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะให้ส่วนลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 80 และให้ชำระเบี้ยปรับคงเหลือร้อยละ … Continue reading แก้หนี้ กยศ.
แก้หนี้ กยศ.
