หลังแต่งงาน คู่สมรสสร้างหนี้ คู่สมรสอีกฝ่าย ต้องร่วมรับผิดชอบหรือไม่

คู่สมรสสร้างหนี้ หลังแต่งงาน จดทะเบียนสมรส แบบนี้ คู่สมรสชักเริ่มเครียด กังวล หนี้สินก่อนสมรส ทรัพย์สินหลังสมรส เกี่ยวโยงเชื่อมโยงกันอย่างไร ทรัพย์สินของคู่สมรสจะถูกยึดหรือไม่ แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ

เริ่มเสียว เมื่อหลังแต่งงาน คู่สมรสสร้างหนี้ กู้แทบทุกอย่าง

หนี้ใครหนี้มัน หนี้ก่อนแต่ง กับ หนี้หลังแต่ง คู่สมรสยังต้องรับผิดร่วมหรือไม่ ประเด็นนี้ หลายคนยังสงสัย และงง รวมถึงตัวผมด้วย หากคุณอ่านกฎหมาย แบบไม่เข้าใจ ก็จะงง และผมก็ไม่เข้าใจ ว่านักกฎหมายทำไมต้องเขียนอะไรให้งง เขียนอะไรให้ง่าย สรุปให้ชัดเจน ดีกว่าไหม สรุป หนี้ใครหนี้มัน ถ้ามีหนี้ก่อนแต่ง คู่สมรส ไม่ต้องรับผิดชอบ แต่…. ขยายความ ตามนี้ครับ

หนี้สินก่อนแต่งงาน กับทรัพย์สินหลังแต่งงาน

สรุปเป็น 2 ช่วงเวลานะครับ

  1. หากคู่สมรสสร้างหนี้สินก่อนแต่ง เราไม่ต้องรับผิดชอบกับหนี้เหล่านี้ แต่หากคู่สมรส สร้างหนี้หลังแต่ง หนี้สินบางอย่างที่คู่สมรสต้องเซ็นยินยอม อันนี้คู่สมรสต้องร่วมรับผิดชอบนะครับ
  2. ทรัพย์สินก่อนแต่ง ใครมีอะไรอย่างไร ถือว่าเป็นคนละส่วนกัน แต่หากหลังแต่ง ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังแต่งงาน หรือ สมรส ถือเป็นสินสมรส ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีกรรมสิทธิ์ร่วมฝ่ายละครึ่ง

สรุปอีกทีนะครับ หากฝ่ายชายมีหนี้สินก่อนแต่งงาน ฝ่ายหญิงไม่ต้องร่วมรับผิดชอบหนี้ แต่หากฝ่ายชายถูกดำเนินคดีพิพากษายึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ เจ้าหนี้สามารถ ยึดทรัพย์อายัดทรัพย์สิน ที่เกิดขึ้นหลังแต่งงานได้ครึ่งหนึ่ง เพราะถือว่าเป็นสินสมรส สรุปของสรุป อีกทีนะครับ ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากแต่งงานแล้ว ถือเป็นสินสมรส เจ้าหนี้ ของคู่สมรส แม้ว่าจะสร้างหนี้ก่อนแต่งงาน ก็มีสิทธิ์มา อายัด หรือยึดทรัพย์ทรัพย์สิน ที่เกิดขึ้นหลังแต่งงานได้นะครับ

ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น บางประเภทไม่สามารถถือเป็นสินสมรสได้ เช่น มรดกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เจ้าหนี้จะมาถือว่าเป็นสินสมรสไม่ได้

หนี้สินอะไรบ้าง ที่คู่สมรส ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เซ็นยินยอมไว้ก็ตาม

1. หนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป
หนี้ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่ากิน ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม เช่น หนี้ค่าต่อเติมบ้าน หนี้จากการกู้ยืมเพื่อซื้อที่ดินเป็นสินสมรส เป็นต้น ซึ่งหนี้ประเภทนี้ ถือเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน

3. หนี้จากการทำธุรกิจร่วมกัน
เช่น การเปิดร้านอาหาร กิจการการค้าขายร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายภายในร้านถือเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน แม้ว่าจะเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปกู้ยืมมาก็ตาม หากเกิดการผิดชำระหนี้เราก็ต้องเป็นผู้ชำระหนี้แทนค่ะ

4. หนี้จากการสัตยาบันจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้กู้เงินด้วยตนเองก็ตาม แต่หากได้มีการสตยาบันหรือทำนิติกรรมให้กับอีกฝ่าย ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมเช่นกันตามกฎหมาย

หนี้สินแบบไหน ที่คู่สมรส ไม่ต้องรับผิดชอบ

1. หนี้สินก่อนสมรส
เพราะถือเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ดังนั้นคู่สมรสจึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนนี้ให้ แต่เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังแต่งงานได้ ( ไม่งง นะครับ )

2. หนี้จากการพนัน
หนี้ที่กู้มาใช้เพื่อการพนัน ไม่ถือเป็นหนี้ร่วมกัน เพราะไม่ได้กู้มาเพื่อนำมาใช้จ่ายครอบครัว ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้แทน

3. หนี้จากบัตรเครดิต
ภาระหนี้ที่เกิดจากบัตรเครดิตส่วนตัว ที่นำไปใช้จ่ายเพื่อการส่วนตัว เช่น ซื้อของใช้ส่วนตัว ชำระค่าบริการที่เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ครัวเรือน ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องจ่าย หรือชำระร่วมกัน

4. หนี้จากสัญญาค้ำประกัน
เพราะถือมีสถานะเป็นเพียงผู้กู้ ไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ร่วม จึงไม่มีความจำเป็นต้องชำระหนี้ร่วมกัน

5. หนี้ที่กู้มาเพื่อมอบให้กับบุคคลที่สาม
ซึ่งบุคคลที่สามในที่นี้คือ บุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เช่น เพื่อน เป็นต้น หากคู่สมรสเกิดค้างชำระหนี้ก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบร่วมกัน

หย่า ก่อนเกิดเรื่อง หลุดความรับผิดหนี้ไหม

การทำก่อนการหย่าร้าง สามีภรรยา ควรมีการตกลงและวางแผน สินสมรสและสินส่วนตัว ดังนี้

1.รวบรวมรายการทรัพย์สินและหนี้สินอย่างเป็นธรรม แยกระหว่างสินส่วนตัวและสินสมรส ทำรายการและสำเนาหลักฐานให้ครบถ้วน รวมทั้งดอกเบี้ยหรือรายได้รับในอนาคตที่จะเกิดขึ้น จัดการผู้รับผลประโยชน์จากรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้ามี) กองทุนบำเหน็จบำนาญ หุ้นส่วนในกิจการ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี)
2.จัดการหนี้สินที่ต้องมีการผ่อนชำระร่วมกัน เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ อาจมีการขายให้กันเอง หรือขายให้บุคคลอื่น
3.จัดการพิจารณาการเลี้ยงดูบุตร สวัสดิการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การศึกษาของบุตร

ด้วยหลักการทางกฎหมาย นำมาประกอบการพิจารณากับประเด็นข้างต้น ดังนี้
กรณียังไม่จดทะเบียนหย่า ส่วนความรับผิดชอบร่วมกันของสามี กับภรรยา ต้องแยกรายการให้ชัดเจนระหว่าง หนี้สินส่วนตัว กับสินสมรส เพื่อกันไว้ไม่ให้ภรรยาต้องมารับภาระหนี้ร่วมกับสามีทั้งหมด ซึ่งเจ้าหนี้จะทวงถามหนี้เฉพาะในส่วนที่เป็นสินสมรส หรือหนี้ที่มาใช้ในครอบครัวเท่านั้น หากถูกฟ้องร้อง สามี-ภรรยา ต้องเตรียมเอกสารเพื่อแสดงให้ศาลพิจารณา

หากสามีหรือภรรยาเซ็นยินยอมในการกู้ ถึงแม้ว่าจะหย่าขาดจากกันแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถตามไปยึดทรัพย์อายัดทรัพย์สินของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้ ตรงนี้ต้องรู้กันไว้ด้วยนะครับ

เตือน คู่สมรสไว้บ้าง อย่าสร้างหนี้เยอะ

สรุปสุดท้ายนะครับ หนี้สินส่วนตัวกับหนี้สินระหว่างสมรส หรือทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินหลังสมรส แยกแยะกันให้ดีนะครับ สุดท้ายในฐานะคู่ชีวิต เราคงต้องเตือนสติกับอีกฝ่าย ว่าหนี้สินที่สร้าง มันเป็นหนี้ที่ดี หรือหนี้ที่ไม่ดี หากกู้มาเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ทำธุรกิจ แล้วเกิดพลาดพลั้งธุรกิจขาดทุน อันนี้ก็ต้องยอมรับครับ แต่หากคู่สมรส กู้กันบ้าระห่ำ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แบบนี้คงต้องเตือนสติกันบ้างนะครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ


สำหรับเจ้าของกิจการ ที่มีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ธนาคารเริ่มคุยยากขึ้น เจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแล ไม่เหมือนเดิม มาถึงตรงนี้ Antonio Attorney ทีมงานเรา พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา รับหน้าที่ เจรจา แก้หนี้ ให้กับธุรกิจของคุณนะครับ สนใจติดต่อสอบถาม พูดคุยกับผมได้ ครับ 081 869 0878

หรือ ให้ผมเป็นที่ปรึกษา แบบส่วนตัว

แบบที่ 1 พูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ ไม่จำกัดครั้ง คุยกันได้ตลอดชีพ ค่าบริการ 2,000 บาท ตลอดชีพ

แบบที่ 2 สามารถเจอผมได้ 1 ครั้ง คุณอาจจะพาครอบครัวหรือทีมงาน เราพูดคุยกับผมได้ ประชุมร่วมกันครับ วันนี้ขอจำกัดเวลาประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมงนะครับ หลังจากนั้นคุณสามารถโทรศัพท์พูดคุยกับผมได้ไม่จำกัดครั้ง แล้วคุยตลอดชีพได้เช่นเดียวกันครับ แบบที่ 2 ราคาค่าบริการ 5,000 บาทครับ

KBANK 766 2 21897 3 / SCB 407 0 55631 0

เมื่อโอนเงินแล้ว ส่งสลิปโอนเงินมาที่ LineID : @antonio ส่งสลิปมาแล้ว ไม่ต้องทักนะครับ เดี๋ยวข้อความมันจะเลื่อน ผมจะหาไม่เจอว่าใครโอนเงินมา เนื่องจาก ผมมีคนไลน์เข้ามาจำนวนมาก ส่งสลิปมาแล้วรอ ผมจะรีบติดต่อกลับนะครับ


แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonio

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

Leave a Reply