หนี้รถ กับ หนี้บ้าน เป็นหนี้ก้อนไหน ก่อนดี

ถ้าต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ก้อนแรก หนี้รถหรือหนี้บ้าน ก้อนไหนที่เราควรเริ่ม

กู้ซื้อบ้าน กับ กู้ซื้อรถ หลายคนจะมีคำถามว่า ควรจะเป็นหนี้อะไรก่อนดี เพราะหนี้ทั้งสองประเภทนี้ เป็นหนี้ที่อาจจะเรียกว่าเป็นหนี้ก้อนใหญ่สำหรับชีวิตทีเดียว บางคนรู้สึกว่า กู้บ้านยากกว่า ต้องเตรียมตัวให้ดี ต้องพร้อมมากกว่า ใช้เวลานานเตรียมตัวนานกว่า อดทนไม่ไหว ขอสร้างหนี้ ด้วยการกู้รถก่อน ถือว่าเป็นการเรียกน้ำย่อยในการกู้เงินไปในตัว

สิ่งที่ต้องพิจารณา ก่อนเป็นหนี้

ผมจะแบ่งการพิจารณา ว่าจะเป็นหนี้บ้านหรือหนี้รถ สามารถพิจารณาได้ 2 ปัจจัยครับ 1. ดูตามความจำเป็น 2. พิจารณาทางด้านการเงิน พิจารณา จากภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ก่อนหลัง

ถ้าคุณจะกู้ซื้อรถก่อน

ถ้าจะเลือกการมีรถก่อน ให้พิจารณา ความสำคัญ
1.ความจำเป็น ในการเดินทาง เช่น ระยะทางการเดินทางจากที่พักไปที่ทำงาน ระยะเวลาการเดินทาง ค่าใช้จ่ายของการเดินทาง
2.ลักษณะอาชีพมีความจำเป็นต้องมีรถหรือไม่
3.การใช้รถมีส่วนที่นายจ้างดูแลเท่าใด เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่าบำรุงรักษารถ มีหรือไม่
4.รายได้ประจำ ที่คงที่ และรายได้อื่นๆ มีหรือไม่ เช่น ค่าคอมมิชชั่น โบนัสประจำปี อาชีพเสริมอื่นๆ เช่น ขายตรง ขายสินค้าวันหยุด
5.ญาติพี่น้อง ที่ต้องจำเป็นต้องดูแลการเดินทางเป็นประจำ เช่น บิดา มารดา ผู้ป่วย บุตรหลาน
6.รายจ่าย เดิม อาทิ ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ผ่อนสินค้า คชจ.ในครอบครัว ประกันชีวิต(ถ้ามี) และค่ากิจกรรมสังคม
7.ค่าใข้จ่าย ต่อเนื่องจากการมีรถ

ยังไงก็ต้องเป็นหนี้ ถ้าแบบนี้สำรวจตัวเองก่อนครับ

เมื่อพิจารณาความสำคัญ ถ้าจำเป็นต้องมีรถ สิ่งที่พิจารณา ต่อไป คือ
1.ประเภทรถ เช่น รถเก๋งซีดาน รถกระบะ2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู หรือ รถเอนกประสงค์
2.ประเภทรถใหม่ หรือรถมือสอง (รถมือสองจะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่างวดรถ)
3.ส่วนต่างเงินดาวน์ ดอกเบี้ย ค่างวด และระยะเวลาการผ่อน *** ตามเกณฑ์ ธปท. การผ่อนรถจะคล้ายกับบ้าน คือลดต้นลดดอก แต่ความเป็นจริง จะไม่ตรงกับ เกณฑ์ ธปท. โดยเฉพาะรถมือสอง ยังมีการคิดคล้ายแบบเดิม ( Flat rate ไม่ลดต้นลดดอก ) คือ ตัดค่าเป็นงวดๆ ถ้าจ่ายเกินจากค่างวด จะมีการยกยอดไปงวดถัดไป ไม่ได้ลดต้นลดดอกจริง***
4.ประมาณการค่าใช้จ่ายของการมีรถ อาทิ ค่าผ่อนงวดรถรายเดือน ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าซ่อมบำรุง ค่าต่อทะเบียนภาษีประจำปี ค่าเบี้ยประกันภัยทางเลือก(ประกันชั้น 1,2 หรือ3)
5.ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)

หรือถ้าคุณจะกู้ซื้อบ้านก่อน

หากพิจารณาตามเหตุผลข้างต้น มีความจำเป็นต้องมีบ้านก่อน ให้คำนึงเหตุผลประกอบ เช่น
1.ผู้กู้มีความมั่นใจในอาชีพ รายได้ และโอกาสเติบโตในอาชีพการงาน เนื่องจากการผ่อนชำระบ้าน เป็นการผ่อนระยะยาว 15-35 ปี (ขึ้นกับอายุผู้กู้)
2.ผู้กู้ ยังสามารถเดินทางโดยรถสาธารณะได้ และสามารถควบคุมค่าใช้จายการเดินทางปกติได้
3.มีรายได้ของผู้กู้เพียงพอกับการผ่อนชำระ
4.รายได้รวมในครอบครัว (ถ้ามี) เช่น รายได้คู่สมรส  หรือรายได้ของบุตรหลาน คาดการณ์ในอนาคตหลังจบการศึกษา
5.ศักยภาพการผ่อนชำระจริง ซึ่งหากผู้กู้ สามารถวางแผนการผ่อนชำระบ้าน มากกว่าค่างวดปกติ 20-30% อย่างคงที่ของทุกๆเดือน จะทำให้การผ่อนมีระยะสั้นลง 5-10 ปี และดอกเบี้ยเฉลี่ยจริงจะลดลงมากๆ
6.การวางแผนการรีไฟแนนซ์  หลังผ่อนชำระตามเงื่อนไข 3-5 ปี การรีไฟแนนซ์ จะช่วยการประหยัดดอกเบี้ยจริงหรือไม่ ให้พิจารณาอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เดิม กับดอกเบี้ยใหม่ และ ยอดคงค้าง ซึ่งหากส่วนต่างดอกเบี้ย แตกต่างกันไม่เกิน 2% และหากผู้กู้มีการผ่อนบ้านมากกว่าปกติ 20-30%  การรีไฟแนนซ์  อาจไม่มีความจำเป็น รายละเอียดในการพิจารณาขึ้นกับเงื่อนไขในอนาคต

ผลดีผลเสีย ถ้าคุณเลือกกู้ก้อนแรกผิดประเภท

สรุป การพิจารณาเลือกกู้รถ หรือบ้าน ให้พิจารณาด้านความจำเป็น มากกว่าความอยากได้ (Need > want) อีกทั้งการกู้รถหรือบ้าน นั้น หากกู้รถวงเงินสูงก่อนมีบ้าน ให้มีการผ่อนชำระค่างวดรถเป็นปกติ อย่างน้อย 3-6 งวด และมีส่วนต่างของรายได้ของการผ่อนบ้านได้ ก็สามารถจะกู้บ้านได้ แต่หากสัดส่วนการผ่อนรถที่ตึงตัว จะทำให้การขอกู้บ้านจะได้ยากขึ้น อาจต้องหาผู้กู้ร่วมที่มีศักยภาพ

สำหรับคนที่กู้บ้านก่อน การจะออกรถ ยังสามารถขอกู้รถได้ เพราะเงื่อนไข การกู้รถ ง่ายกว่าบ้าน อาจดูที่รายได้ยังพอได้ หรืออาจต้องวางเงินดาวน์สูงขึ้น และอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) มาประกอบการพิจารณา ซึ่งหากผู้ค้ำประกัน มีอาชีพ มีรายได้ ก็ทำให้กู้รถได้ง่ายขึ้น
(ปกติกู้รถ ไม่ตรวจบูโร ผู้ค้ำประกัน แต่ในปัจจุบัน อาจจะตรวจ)
จนท.สินเชื่อรถ มักจะถามถึง ความเป็นเจ้าบ้านหรือไม่ เป็นเจ้าของโฉนดบ้านหรือไม่ หรือมีทรัพย์อสังหาริมทรัพย์หรือไม่ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าทำให้อนุมัติง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริง เป็นการสืบทรัพย์ผู้กู้โดยตรง กรณีผู้กู้ไม่สามารถผ่อนรถได้ รถถูกยึด หากขายทอดตลาดแล้วไม่พอ ก็จะง่ายในการฟ้องอายัดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อชดใช้ส่วนต่างได้
และถึงแม้ว่า เกณฑ์ ธปท.ที่กำหนด สามารถคืนรถได้ หากไม่มีการค้างชำระ แต่ความเป็นจริง ต้องพิจารณาสินเชื่อรถให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง ซึ่งมีหลายกรณี หากผู้กู้จะคืนรถ ไฟแนนซ์ จะมีข้ออ้างไม่รับคืนรถ จะมีการบ่ายเบี่ยง และบางกรณี ถึงแม้ว่าจะรับคืนรถตามสภาพที่สมบูรณ์แล้วก็ตาม ไฟแนนซ์ ก็ยังจะฟ้องให้ชำระส่วนต่าง ซึ่งผู้กู้ที่คืนรถแล้ว ก็ต้องจ้างทนายไปต่อสู้กับไฟแนนซ์ ผลคือผู้กู้อาจจะชนะคดี หรือแพ้คดีก็ได้
ให้พิจารณาตามข้อกฎหมาย และข้อมูลในสัญญาสินเชื่อรถ หากผู้กู้ชนะคดี ก็ยังมีประวัติทางการคดีการเงิน ซึ่งผู้กู้ต้องเก็บเอกสารการฟ้องชนะ ไว้ชี้แจงการขอสินเชื่อครั้งต่อไป และผู้กู้จะติดประวัติการคืนรถ(ข้อมูลในกลุ่มชมรมไฟแนนซ์รถ )

การจะเลือกเป็นหนี้ ก้อนไหนก่อนดี ระหว่าง หนี้บ้าน กับ หนี้รถ คือ ดูความจำเป็น ของชีวิต และดูคุณสมบัติในการที่เรา จะเป็นลูกหนี้ และมีภาระที่ต้องผ่อนหนี้ กันไปจนจบ ทบทวน และตัดสินใจกันเองครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ แต่ถ้าคุณกู้บ้านก่อน แล้วจะกู้รถ ง่ายกว่า ครับ


แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonio

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME


Leave a Reply