ความหวังลดหนี้เสีย NPL ที่แบงก์ชาติ ยังพยายามอยู่

มาตรการของแบงค์ชาติ ล่าสุด เปิดทาง ธนาคาร ร่วมทุน บริษัทบริหารหนี้ เพื่อช่วยลดปัญหา NPL เริ่มได้เลยถ้าพร้อม อายุขัย บริษัทร่วมทุน แค่ 15 ปี ต้องจบภารกิจ แล้วปิด เลิกกิจการ

แบงก์ชาติหวังให้เกิดการจับคู่ ระหว่างธนาคาร (เจ้าหนี้) กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อ หาทางปลดเปลื้อง ภาระปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ หรือหนี้เสีย NPL ให้ออกจากระบบธนาคาร ไปกองรวมไว้ที่บริษัทร่วมทุนใหม่ จะทำให้ธนาคาร ตัวเบาขึ้น และธนาคารกลับมาสนใจ เฉพาะในส่วน การปล่อยกู้ และการฝากเงินเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวทางเดิม ในการทำธุรกิจของธนาคารอยู่แล้ว

หนี้เสีย NPL ปัจจุบัน ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังพอรับมือได้ แต่อนาคต ไม่แน่

NPL มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Non-Performing Loan (NPL) หรือ หนี้เสีย ซึ่งหมายถึง หนี้ ที่ไม่ได้รับการชำระคืน ตามข้อกำหนดตกลงกันตามสัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคุณได้ทำการขอสินเชื่อเอาไว้ แล้วไม่ได้ชำระหนี้นานเกินกว่าจำนวนวันที่กำหนด โดยปกติแล้วกำหนดไว้ที่ 90 วัน

โดยข้อมูลล่าสุด ณ ไตรมาส 3/64 สัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ที่ระดับ 3.14% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.12% ในไตรมาส 4/63 เนื่องจากยังได้รับผลเชิงบวกจากมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้ และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ แต่หากสิ้นสุดมาตราการในการช่วยเหลือลูกหนี้แล้ว NPLs อาจจะเป็นปัญหาที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ เนื่องจากมีหนี้เสียในระบบเยอะเกินไป

แบงค์ชาติ หวัง ให้บริษัทร่วมทุน เป็นองค์กรหลักที่จะแก้ไขปัญหา NPL

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตราการส่งเสริมการจัดตั้งกิจการร่วมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถร่วมลงทุนในกิจการร่วมทุนได้ โดยกำหนดระยะเวลายื่นขอจัดตั้งกิจการร่วมทุนได้ภายในปี 2567 และบริษัท มีระยะเวลาการดำเนินธุรกิจภายใน 15 ปี

หวังให้บริษัทร่วมทุน เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจลูกหนี้ ช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ ให้ลูกหนี้ไปต่อได้

ในการดำเนินกิจการร่วมทุนนี้ สำหรับจุดประสงค์ในการดำเนินการกำหนดให้รับซื้อสินเชื่อด้อยคุณภาพ และทรัพย์สินรอการขายในประเทศ ซึ่งจะต้องเน้นให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนมา

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเกิดความไม่เท่าเทียมกัน อย่างเช่นในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ยังได้รับผลกระทบจากโควิด19 อยู่ ซึ่งถือว่าฟื้นตัวช้าที่สุดกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ ทำให้มาตราการนี้มีความจำเป็น ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยให้สถาบันการเงินบริหารจัดการ NPLs ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งลูกหนี้เอง ยังได้รับความช่วยเหลือ ยืดหยุ่นในการจ่ายหนี้ รวมไปถึงการไกล่เกลี่ยหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อไม่ถูกเร่งรัดหนี้สินจนเกินไป เป็นทางออกร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในสถานการณ์ที่เปราะบางเช่นนี้

ความหวังของแบงก์ชาติ กับความหวังของลูกหนี้ คงเป็นความหวังใบใหญ่พอๆกัน สุดท้าย ทั้งแบงค์ชาติและลูกหนี้ คงไม่หวังลมๆแล้งๆ ถ้าเจ้าหนี้ ไม่ทำลายความหวังนี้


แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

แก้หนี้

Leave a Reply