หนี้ครัวเรือนไทยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มประสบภาวะ Debt Overhang

วันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องหนี้ครัวเรือน หนี้ครัวเรือน ต่างกับหนี้สาธารณะ นะครับ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ ตอนนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทย อยู่ที่ 90.5% ต่อ GDP ซึ่งสูงที่สุด ในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนหนี้ สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐก่อหนี้ ตัวเลขตอนนี้อยู่ที่ 54.28% ต่อ GDP

หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ของคนไทย ที่ก่อกันขึ้นมา กู้บ้าน กู้รถ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หนี้ครัวเรือนพุ่ง ก็มาจากคนไทยกันเองนี่ละครับที่กู้ ส่วนหนี้สาธารณะ ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง คือแค่ 54.28% เท่านั้น ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่า หนี้ครัวเรือน ครับ

ตอนนี้ ข้อมูลจาก SCB หรือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ บอกว่า เศรษฐกิจไทย อาจจะเข้าสู่ ภาวะ Debt Overhang คือ มีหนี้มาก มีหนี้สะสม ซึ่งจะเป็นปัญหา ต่อ การใช้จ่าย และการก่อหนี้ใหม่ได้ในอนาคต

จากประสบการณ์ในการทำงานของผม ที่คลุกคลี อยู่กับลูกหนี้ไทยมานาน บอกได้คำเดียวว่า หนี้ส่วนใหญ่ที่กู้กันมา เอามาใช้จ่าย ไปในทางที่ไม่ค่อยเกิดประโยชน์กันสักเท่าไหร่ หรือ เป็นหนี้ที่ก่อแบบ ขาดความระมัดระวัง แต่ที่ผม งง หนัก กว่า คือ บางครั้งไม่เข้าใจว่า ทำไม ธนาคาร ถึงอนุมัติเงินกู้ไปให้ได้ ทั้งๆ ที่ดูแล้วว่า น่าจะไปไม่รอด

“หลังจากคนกลุ่มนี้เริ่มเป็นหนี้ มักจะแก้หนี้ด้วยวิธีการที่ผิด คือ ไม่ยอม สู้ กลัวคำว่าโดนฟ้อง กลัวเครดิตบูโรเสีย หมุนหนี้ กู้เพิ่ม หรือ สุดท้ายยืมเงินกู้นอกระบบ ต่อให้คุณเก่งเท่าไร ผมให้เต็มที่ ไม่เกิน 2 ปี ยังไงคุณก็ต้องยอมหมอบ แน่นอน ”

แต่จาก คำว่า Debt Overhang คือ มีหนี้มากหมักหมม จนอาจจะทำให้ก่อปัญหา ไม่มีเงินใช้หนี้ หาเงินได้มาเท่าไร จ่ายหนี้ จ่ายดอกเบี้ยหมด ลากถู เงินจากระบบเศรษฐกิจ เงินแทนที่จะหมุนเวียน เงินกลับไหลไปสู่ตู้เซฟของธนาคารกันซะงั้น อย่างที่บอก เราควรมีภาระหนี้ ไม่เกิน 50-60% ของรายได้ แต่นี่บบางคน ล่อเป็นหนี้กันไปเกือบ 80%-90% บางคนน่ากลัวกว่านั้นคือ ทะลุ 100% เลยครับ คือ ภาระหนี้ต่อเดือนมากกว่ารายได้ บ้าไปแล้ว ส่วนปัญหาอีกอย่างที่จะตามมาคือ หลังจากคนกลุ่มนี้เริ่มเป็นหนี้ มักจะแก้หนี้ด้วยวิธีการที่ผิด คือ ไม่ยอม สู้ กลัวคำว่าโดนฟ้อง กลัวเครดิตบูโรเสีย หมุนหนี้ กู้เพิ่ม หรือ สุดท้ายยืมเงินกู้นอกระบบ ต่อให้คุณเก่งเท่าไร ผมให้เต็มที่ ไม่เกิน 2 ปี ยังไงคุณก็ต้องยอมหมอบ แน่นอน ไปไม่รอด เป็นหนี้ ถ้าไปไม่รอด ให้หยุดครับ ตั้งสติครับ จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มคนเหล่านี้ จะหายไปจากระบบ ธนาคาร ไปอีกนานหลายสิบปี กว่าจะกลับมาได้ ก็เพราะ ติดประวัติเสียในเครดิตบูโร กว่าจะกลับมาได้ ก็แก่เกินไป ที่จะกู้ซะละ

หนี้ครัวเรือน มีการขยายตัวมาตลอดแม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด

ทั้งนี้เป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

• ปัจจัยที่หนึ่ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้รายย่อยทั้งในรูปแบบของการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งช่วยลดภาระการช าระหนี้ในระยะสั้นและช่วยป้องกันการเกิดหนี้เสียในวงกว้าง อย่างไรก็ดี การชำระหนี้ ที่ถูกพักหรือเลื่อนออกไปมีส่วนท าให้ระดับหนี้ครัวเรือนในภาพรวมปรับลดลงช้ากว่าปกติ

• ปัจจัยที่สอง วิกฤตโควิดได้ส่งผลทำให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนขาดรายได้น าไปสู่การลดลงของสภาพคล่องของคนจำนวนมาก จึงเกิดการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายทดแทนสภาพคล่องที่หายไปของภาคครัวเรือน ดังจะเห็นได้จาก การเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคล (personal loan) ในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2020 และมีอัตราการเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 5.9%YOY เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.8%YOY แม้มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินจะมีแนวโน้มระมัดระวัง
มากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ข้อมูลประกอบจาก Google Trends ในส่วนของการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับ เงินกู้-เงินด่วน ยังแสดงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การค้นหากลุ่มคำดังกล่าว ซึ่งปรากฎผลการค้นหาทั้งจากผู้ให้กู้ประเภทธนาคารพาณิชย์และแหล่งเงินทุนอื่น ๆ นอกระบบ เพิ่มขึ้นถึง 79.0%YOY ในปี 2020 โดยปริมาณการค้นหาทำจุดสูงที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการล็อกดาวน์เป็นครั้งแรก และปริมาณการค้นหาคำเหล่านี้ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าในอดีตอย่างต่อเนื่องหลังจากนั้นเป็นต้นมา

โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงมีปริมาณการค้นหาที่เพิ่มขึ้น 16.4%YOY ทั้งนี้แนวโน้มความต้องการสินเชื่อเร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับการเติบโตที่เกิดขึ้นของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ประกอบกับมาตรฐานการให้สินเชื่อที่มีแนวโน้มระมัดระวังมากขึ้น สะท้อนว่าครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสินเชื่อ อาจไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้ ทำให้มีแนวโน้มต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ามาก เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาวังวนของกับดักหนี้ได้ในอนาคต

• ปัจจัยที่สาม ครัวเรือนบางส่วนที่มีกำลังซื้อ ยังมีการใช้จ่ายซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผู้ประกอบการมีการลดราคาออกโปรโมชันจูงใจเป็นจำนวนมากเพื่อลดอุปทานคงค้าง ประกอบกับมาตรการ LTV มีการผ่อนคลายลง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้หนี้ครัวเรือนในส่วนนี้เติบโตได้ดีในช่วงวิกฤต สะท้อนจากสินเชื่อผู้บริโภคในระบบธนาคารพาณิชย์ในหมวดที่อยู่อาศัยที่เติบโตได้ค่อนข้างดีที่ 5.9%YOY ณ สิ้นปี 2020 และยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 6.8%YOY

การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 90.5% ต่อ GDP ทั้งนี้เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่ยังมีการขยายตัวที่ 4.6%YOY ขณะที่ GDP2 หดตัวที่ -7.3%YOY ในช่วงเดียวกัน (รูปที่ 2) ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยอยู่ในระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีข้อมูลมาในปี 2003

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับสัดส่วนของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจากข้อมูลของ Bank of International Settlement (BIS) ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด และในช่วงวิกฤต สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยยังเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วโดยสัดส่วน ณ สิ้นปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2019 อีกประมาณ 12.0% ต่อ GDP ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงเป็นอันดับ 7 จากทั้งหมด 43 ประเทศ ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก GDP ที่ลดลงมากกว่าและฟื้นตัวช้ากว่า ส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยยังคงสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยนั้นยังถือว่าสูงเทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่มีรายได้และความมั่งคั่งที่สูงกว่าอีกด้วย สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของการพึ่งพาสินเชื่อในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนไทยในช่วงที่ผ่านมา

สรุปสุดท้าย ผมว่า ตอนนี้เรามาถึงปลายทางของวิกฤตแล้ว ผมอ่านบทความของนักวิชาการ และสำนักเจ้าองค์ความรู้ทั้งหลาย ก็ยังไม่เห็นมีใคร จะออกมาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ได้เป็นแบบรูปธรรมชัดเจน ว่าเราจะแก้ปัญหานี้ครัวเรือนของไทยได้อย่างไร สำหรับผม ตอนนี้มันแก้ไม่ได้แล้วละครับ แต่เราปลูกฝัง เด็กๆ ให้เข้าใจเรื่องการเงินการทองได้ตั้งแต่เล็กๆ เริ่มจากพ่อแม่ ที่ต้องเข้าใจเรื่องการเงินก่อน ไม่ใช่พ่อแม่เอง ก็หนี้สินพะรุงพะรัง กันแบบนี้ แล้วจะเอาอะไร ไปสอนลูกสอนหลานละครับ


แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ดูคลิปพิเศษจาก Antonio https://bit.ly/3wqjila

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

แก้หนี้

Leave a Reply