ถ้าแผนฟื้นฟูฯ ผ่าน ก็ไม่ได้หมายถึง การบินไทยจะรอด เจ้าหนี้ ขอเอี่ยวร่วมบริหาร

นับถอยหลังประชุมเจ้าหนี้การบินไทย 12 พ.ค. เจ้าหนี้แบงก์ใหญ่ “กรุงเทพ-กรุงไทย” นำทีมลุยรื้อแผนฟื้นฟู ยื่นข้อเสนอคลังค้ำประกันเงินกู้ 5 หมื่นล้าน พร้อมขอเอี่ยวส่งทีมบริหารแผนร่วม เผยแผนฟื้นฟูช่องโหว่เพียบ ชี้โอกาสที่การบินไทยจะฟื้นสร้างรายได้เพื่อหาเงินคืนเจ้าหนี้เป็นไปได้ยาก เตรียมยื่นขอแก้ไขแผนภายใน 7 พ.ค.นี้ ด้านรัฐบาลดิ้นหาช่องใส่เงินอุ้มการบินไทย มอบรองนายกฯ วิษณุ ผ่าทางตันกฎหมายค้ำประกันเงินกู้ ยันไม่ดึง “การบินไทย” กลับเป็นรัฐวิสาหกิจ

แบงก์รื้อแผนฟื้นฟูบินไทยแผนเดิมของการบินไทยระบุไว้ว่า จะไม่ “แฮร์คัตหนี้” พร้อมกับให้กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเติมทุนให้ฝ่ายละ 2.5 หมื่นล้านบาทส่วนกรณีจะให้ สบน.(สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) ค้ำประกันเงินกู้ได้ การบินไทยจะต้องเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ แต่ตอนนี้หน่วยงานของรัฐถือหุ้นการบินไทยน้อยกว่า 50% จึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ ท้ายที่สุดก็ต้องมาดูว่า ผู้ทำแผนจะเสนอแผนฟื้นฟูแบบไหน

นายกฯถก ลอดช่องกฎหมาย เนื่องจากแผนฟื้นฟูต้องการให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุน หรือค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทย 2.5 หมื่นล้านบาท ติดข้อกฎหมาย เพราะรัฐบาลจะค้ำประกันเงินกู้ให้ได้เฉพาะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ แต่ปัจจุบันการบินไทยได้ถูกปลดจากสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ขณะนี้รัฐบาลได้ข้อสรุปว่า จะยังยืนยันว่าไม่สามารถเปลี่ยนสถานะการบินไทยให้กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจได้อีก แต่หากจะค้ำประกันเงินกู้ อาจจะออกกฎหมายทำแบบเฉพาะกิจให้รัฐบาลค้ำประกันให้ได้ตามความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งการค้ำประกันก็จะไม่ค้ำ 100%

แบงก์ยื่นให้คลังค้ำ 5 หมื่นล้าน ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ ได้มีการปรับแก้ และเสนอแผนฟื้นฟูฉบับใหม่เข้ามา โดยเสนอให้คลังต้องเพิ่มทุน หรือรัฐบาลต้องค้ำประกันเงินกู้ที่ใส่เข้าไปใหม่ 5 หมื่นล้านบาท เพราะหากรัฐบาลไม่ค้ำประกัน แบงก์ก็ไม่มีใครกล้าปล่อยกู้เพิ่ม หรือในกรณีรัฐบาลไม่ค้ำประกันเงินกู้ ทางเลือกก็คือ การบินไทยต้องขายทรัพย์สินบางส่วนออกมาเพื่อเป็นกระแสเงินสดรวม ๆ อีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่เจ้าหนี้บางส่วนก็ต้องรับเงื่อนไขแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้อยากทำวิธีนี้ เพราะหากฟื้นฟูไม่สำเร็จจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย

แบงก์ขอเอี่ยวบริหารแผนทางเจ้าหนี้สถาบันการเงินต้องการมีส่วนบริหารแผนฟื้นฟูด้วย โดยเจ้าหนี้ก็ต้องการควบคุมดูแลใกล้ชิด เนื่องจากมีการใส่เงินใหม่ ทำให้มีการเสนอชื่อผู้บริหารแผนจาก 2 คน เป็น 4 คน

รัฐบาลต้องเป็นเจ้ามือ หากรัฐบาลไม่เป็นเจ้ามือจะแก้ยากมาก ตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 1.28 แสนล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลต้องกล้าค้ำประกันเงินกู้อย่างน้อย 2.5 หมื่นล้าน ไม่เช่นนั้นแบงก์ก็ไม่กล้าปล่อยกู้เพิ่ม ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารออมสินที่เป็นแบงก์รัฐ และธนาคารกรุงไทย”

เปิดชื่อ 5 แบงก์เจ้าหนี้ใหญ่สำหรับเจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่มีหลักประกันมูลหนี้รวม 31,228.37 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงเทพ 9,344.65 ล้านบาท อันดับ 2 คือ ธนาคารกรุงไทย 6,966.98 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 3,826.12 ล้านบาท, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 2,149.65 ล้านบาท และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2,658.93 ล้านบาท โดยแผนฟื้นฟูขอยืดชำระหนี้ออกไปประมาณ 13 ปี

แผนฟื้นฟูครั้งนี้ นอกจาก ตัด ลดดอกเบี้ย ยืดหนี้ แปลงหนี้เป็นทุน สุดท้าย คลัง และเจ้าหนี้ ต้องเติมเงิน ฝั่งละ 25,000 ล้านบาท ถ้าแผน ผ่าน เราก็มาลุ้นกันต่อว่า การบินไทย สายการบินแห่งชาติ จะรอดไหม หรือ สุดท้ายก็จะเหมือน ลูกหนี้ที่ขอผัดผ่อนหนี้ ไปวันๆ สุดท้ายก็ไปต่อไม่ได้

แก้หนี้ สร้างหนี้ เราจัดการให้
ติดต่อ LineID : @antonio

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ Youtube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney

ที่ปรึกษาสำหรับ ผู้ประกอบการ SME แก้หนี้ หรือ ขอกู้เงิน สินเชื่อ คลิกเลยครับ Antonio SME

แก้หนี้

Leave a Reply