“หนี้” หลังโควิด โรคเรื้อรัง ที่หายารักษา ยังไม่ได้

หากพูดถึงเรื่อง หนี้ ตอนนี้ใครๆก็รู้กันดีครับว่า เรื่อง หนี้ มันเป็นปัญหาระดับประเทศ ลามไประดับโลก และไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นครับ ตัวการวิกฤติครั้งนี้ก็คือ covid นั่นเอง ผมเองในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อันโตนิโอ แอททอร์นี จำกัด Antonio Attorney ใน 1 วันของผม ไม่ต้องคุยเรื่องอื่นครับเรื่องหนี้ล้วนๆ เพราะบริษัทผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนี้ อยากเป็นหนี้ หรืออยากหมดหนี้ เราดำเนินการให้ครับ

หลังจากที่โควิดแพร่ระบาดไปทั่วโลกมาสักระยะหนึ่งแล้ว ทุกคนในประเทศนี้ รวมถึงธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบ ซึ่งสุดท้ายมันก็ลามไปถึงภาวะความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศครับ ธุรกิจ SME ทั่วประเทศ ผมว่าน่าจะล้มหายตายจากไปไม่ต่ำกว่า 30% อันนี้ผมสัมผัสจาก real sector จริงๆนะครับ ตัวเลขไม่น่าจะผิดเพี้ยนไปจากนี้

ทีนี้ปัญหาเศรษฐกิจใครเป็นคนแก้ รัฐบาลครับกระทรวงการคลัง รวมถึงองค์กรที่เป็นอิสระในการบริหาร คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาตินั้นเอง ผมบอกเลยครับ 2 หน่วยงานนี้ ในส่วนของผมที่เห็นปัญหาเกือบทุกวัน บอกเลยครับว่าสอบตก ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่า มาตรการพักหนี้ มันจะหมดลงในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นี่ล่วงเลยมาถึงเดือนพฤศจิกายน ยังไม่มีคำตอบจาก 2 หน่วยงานนี้เลยครับ ว่าจะเป็นและไปกันยังไงต่อ สำหรับลูกหนี้ทั้งหลาย รอวันแห้งตายแน่

เพราะโครงการที่ออกมาโดย แบงค์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Debt Consolidation และ DR Biz ซึ่งทั้ง 2 โครงการที่ออกมา จะเรียกได้ว่ามีเจตนาที่ดี แต่เนื้อหาสาระและแนวทางผมว่ามันออกแนว กล้าๆกลัวๆ ครอบคลุมปัญหาไม่หมด ให้ผมวิจารณ์แบบตรงๆคือ ผมว่าวิธีการหรือแนวทางที่ออกมามันตลกและมันทำไม่ได้จริงครับ

มาไล่เรียงกันแต่ละ โครงการนะครับ เริ่มที่โครงการ Debt consolidation คือโครงการรวมหนี้ หลักการนะครับ

1. ใครที่ผ่อนบ้าน และต้องผ่อนตรงนะครับ ไม่เป็นหนี้เสีย สินเชื่อบ้านนะครับ ไม่ใช่สินเชื่ออเนกประสงค์ คือ สินเชื่อกู้ซื้อบ้าน หรือกู้ซื้อคอนโด ที่เรียกว่า Housing Loan นะครับผ่อนบ้านตรง ย้ำ

2. และหากคุณมีหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล หรือหนี้สินเชื่อรถ ผ่อนรถ จำนำทะเบียนรถ อันนี้ หนี้เหล่านี้คุณเป็นหนี้เสียได้นะครับ

3. หนี้ในข้อที่ 1 และหนี้ในข้อที่ 2 ทั้งสองส่วนคุณต้องเป็นหนี้กับสถาบันการเงินเดียวกันเท่านั้น คุณถึงจะนำหนี้ทั้ง 2 อย่างมารวมกันได้ เน้นย้ำนะครับว่าต้องเป็นเจ้าหนี้เดียวกันหรือสถาบันการเงินเดียวกัน เท่านั้น

4. การที่จะเอา หนี้สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตหรือจํานําทะเบียนรถ มาร่วมกับหนี้บ้าน ต้องดูด้วยนะครับว่า ภาระหนี้บ้านที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับราคาประเมินหรือมูลค่าหลักประกันหรือมูลค่าบ้านนั้น ยังมีช่องว่างเพียงพอที่จะเอามารวมกันได้หรือไม่ หากคุณเป็นหนี้บ้านอยู่ 2.9 ล้าน แต่มูลค่าบ้านคุณ 3 ล้าน เท่ากับว่า คุณจะเหลือส่วนต่างเพียงแค่ 1 แสนบาทอันนี้อาจจะเอาหนี้ต่างๆในข้อที่ 2 รวมไม่ได้

5. หากรวมหนี้ได้จะมีผลประโยชน์อะไรเกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือจํานําทะเบียนรถเหล่านี้ จะถูกลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือเพียงเรท MRR เท่านั้น และระยะเวลาการผ่อนชำระจะสามารถยืดระยะเวลาไปเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่เหลือของการผ่อนบ้านได้ครับ …ถ้ารวมได้จริงดีมาก

แต่จาก 5 ข้อให้ผมสรุปให้ฟัง ลองนึกภาพดูนะครับว่าจะมีใครที่สามารถเข้าเงื่อนไขเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด หากลูกหนี้ที่กู้ซื้อบ้านกับ ธอส. ผมถามว่ามีบัตรเครดิต ธอส.ไหมครับ ธอส.ปล่อยสินเชื่อบุคคลไหมครับ หรือ ธอส.ปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถหรือเปล่าครับ สรุปก็คือว่าใครที่เป็นหนี้ผ่อนบ้านกับ ธอส. และมีหนี้บัตรเครดิตต่างๆมากมาย คุณไม่สามารถเข้าโครงการนี้ได้ครับ

DR Biz โครงการที่ 2 โครงการนี้ เปิดหัวมาเพื่อธุรกิจและผู้ประกอบการ smes ทั่วประเทศไทย แต่มันก็ยังไม่ครอบคลุมครับ เพราะเงื่อนไข ใครที่จะเข้าโครงการนี้ได้ ต้องมีหนี้รวมกันตั้งแต่ 50 ล้านจนถึง 500 ล้าน ซึ่งผู้ประกอบการ smes ทั้งหลายมีหนี้กันไม่ถึง 50 ล้านเป็นจำนวนเยอะมากครับ อันนี้เข้าโครงการนี้ไม่ได้ แต่ถ้าจะเข้าได้มาดูกันครับว่าโครงการนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการแก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง”

1. เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม
2. เป็นหนี้กับธนาคารหลายแห่ง วงเงินหนี้รวม 50-500 ล้านบาท (พิจารณาขยายขอบเขตในระยะต่อไปของโครงการ)
3. มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด
4. ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับลูกค้าภาคธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายราย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านหนี้สินของลูกค้าอย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จในครั้งเดียวกัน โดยลูกค้าเพียงติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้เพียงแห่งเดียว ติดต่อ ธนาคารที่เป็นหนี้จำนวนมากที่สุด หรือสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้แนะนำลูกค้าให้เข้าร่วมโครงการ โดยสถาบันการเงินจะประสานงานกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบตามความหนักเบาของลูกค้าแต่ละราย โดยมีแนวทางในการช่วยเหลือลูกค้าภาคธุรกิจใน 3 มิติคือ

1. การบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกันจากทุกสถาบันการเงิน ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาภาระหนี้ได้อย่างรวดเร็ว และเบ็ดเสร็จในคราวเดียว ลดความซ้ำซ้อนในการเรื่องการติดต่อ การจัดส่งเอกสาร และการเจรจาแก้ไขปัญหา โดยได้ข้อยุติร่วมกันจากทุกสถาบันการเงิน
2. ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ลูกค้าธุรกิจแต่ละรายมีปัจจัยการดำเนินธุรกิจและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สถาบันการเงินทุกแห่งสามารถร่วมกันพิจารณาและวิเคราะห์ถึง Root Cause ของลูกค้าและหาแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกค้ารายนั้นๆ ที่สำคัญคือ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดและฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางการช่วยเหลือที่หลากหลาย เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หาผู้ร่วมทุน ตลอดจนเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้า ซึ่งหลักการช่วยเหลือจะเป็นไปตามความสามารถและบริบทของลูกค้าแต่ละราย
3. โอกาสทางการเงินและทางธุรกิจ ในกรณีที่ลูกค้ามีศักยภาพและแผนธุรกิจที่ชัดเจน โครงการนี้เปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน

โครงการ DR Biz นี้ ผมได้เคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ในธนาคารอยู่บ้าง เราพูดกันถึงเรื่องโครงการนี้ สรุปง่ายๆนะครับ แบงค์บอกว่ายังไม่ค่อยเก็ท และไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่

เอาเป็นว่านะครับ โครงการดีๆต่างๆ ของแบงค์ชาติที่ออกมา สรุปสุดท้ายถ้ามันไม่เวิร์ค ก็ยังสามารถใช้ช่องทางหรือแนวทางเดิมได้ก็คือ การปรับโครงสร้างหนี้ ของหนี้แต่ละราย แต่ละเจ้าหนี้

สำหรับบริษัทผมเอง การปรับโครงสร้างหนี้ถือเป็นงานหลักที่เราเชี่ยวชาญและชำนาญ เพราะอะไรเราถึงกล้าพูดแบบนี้ เพราะเรามีลูกหนี้ธนาคารซึ่งเป็นลูกค้ากับเราจำนวนมาก ที่บริษัทต้องเข้าไปติดต่อเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ เกือบทุกธนาคาร ทุกสถาบันการเงินของประเทศไทย บริษัทเราติดต่อทั่วไปหมดครับ ฉะนั้นพนักงาน หรือบุคลากรของบริษัทเรา จะทราบและเข้าใจดีว่าแต่ละธนาคาร แต่ละสถาบันการเงิน ต้องการเงื่อนไข และมีกรอบอย่างไร พูดง่ายๆก็คือว่าทีมงานผมรู้ไส้รู้พุงธนาคารเป็นอย่างดี ถึงแม้เราจะเข้าโครงการต่างๆข้างต้นที่บอกมาไม่ได้ เราก็ยังสามารถใช้วิธีการดั้งเดิม คือการปรับโครงสร้างหนี้ได้ครับ ฉะนั้นเพื่อนๆคนไหน ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายกลาง รายเล็ก มีปัญหาเรื่องหนี้ ธุรกิจเริ่มไปไม่ได้ มองอนาคตแล้วน่าจะมืดมน สุดท้ายน่าจะมีปัญหาหนี้เสียกับธนาคาร บริษัทเรา ยินดีรับใช้ครับ ปัญหาเรื่องหนี้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ sme เรา Antonio Attorney คือมืออาชีพครับ

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ YouTube

และติดตามผมต่อได้ที่ Facebook/AntonioAttorney.Company

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

ติดต่อ ผมที่ email : antonioattorney@gmail.com หรือ LineID : @antonioattorney


Leave a Reply