ควบรวม ธนาคาร ทหารไทย กับ ธนชาติ จะเกิดขึ้นเมื่อไร

ครับ เพื่อนๆ ที่ติดตามข่าวคราว การควบรวมกิจการ ของ 2 ธนาคาร ระหว่าง ธนาคาร ทหารไทย และ ธนาคาร ธนชาติ จากข่าวล่าสุด ว่าจะมีการเสนอ คณะรัฐมนตรี พิจารณา ช่วงเดือน มกราคม 2562 นี้ แต่ปรากฏว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ยังไม่มีเรื่องการควบรวม 2 ธนาคาร นี้ เข้า ครม.ให้พิจารณา แต่อย่างใด

ปัจจุบัน ทั้งสองธนาคาร มีผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ละที่ดังนี้

ธนาคาร ทหารไทย มีผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน หลัก แบ่งเป็น

  1. กระทรวงการคลัง ประมาณ 25%
  2. ING Bank ประมาณ 25%
  3. ผู้ถือหุ้นรายย่อย อื่นๆ ประมาณ 49%

ส่วน ธนาคาร ธนชาติ มีผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน หลัก แบ่งเป็น

  1. บริษัท ทุนธนชาติ ประมาณ 51% (กลุ่มมาบุญครอง)
  2. โนวาสโกเทีย ประมาณ 49%

หลังจากที่ทั้ง 2 ธนาคาร ควบรวมกันเสร็จแล้ว จะทำให้ เหลือเพียงหนึ่งเดียว และจะมีสินทรัพย์ ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท ถือเป็นธนาคาร ที่มีสินทรัพย์เป็นอันดับที่ 6 ของ ระบบธนาคารพาณิชย์ ในประเทศไทย

แหล่งข่าวกล่าวว่า แผนที่ทั้ง 4 ฝ่ายหารือร่วมกันมาแล้วระยะหนึ่งจะเป็นการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions หรือ M&A) ระหว่างธนาคารทหารไทย(ทีเอ็มบี) และธนาคารธนชาต บริษัทในเครือทุนธนชาต โดยจะใช้วิธีการเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย โดยไอเอ็นจีแบงก์ จะถือหุ้นมากที่สุดมากกว่า 20% แต่ไม่เกิน 25% ธนาคารธนชาต ถือหุ้น 20% กระทรวงการคลังถือต่ำกว่า 20% และ สโกเทีย ถือหุ้นน้อยที่สุด 

หลังจากควบรวมกันเสร็จแล้ว ธนาคาร นี้ ก็คงจะเหลือ เพียงแค่ ธนาคาร ทหารไทย และไม่มีใครมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่แบบเป็นเจ้าของ การบริหาร คงจะมืออาชีพแบบสุดๆ และสุดท้ายจะมีผลกระทบกับใครบ้าง แต่เท่าที่ผมนึกออกตอนนี้ คือ พนักงานของทั้ง 2 ธนาคาร คงมีสภาพจิตใจตุ้มๆต่อมๆ กันบ้างละครับ

ติดตามคลิปดีๆ ในแวดวงการเงิน การธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ได้ที่ YouTube

และติดตามผมต่อได้ที่ facebook/AntonioAttorney

สนใจให้ผมเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัว คลิกเลยครับ

Leave a Reply